โรคสายตาขี้เกียจ (Lazy Eye) หรือตามัว โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “Amblyopia” เป็นอาการทางสายตาอย่างหนึ่งที่มักพบกับเด็กวัยเด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 6-7 ปี
ทำไมถึงต้องเรียกว่าโรคสายตาขี้เกียจ
เป็นเพราะว่าอาการที่แสดงออกก็คือ ตาข้างหนึ่งจะมองเห็นเป็นภาพมัว ส่วนตาอีกข้างหนึ่งยังคงปกติดี (สังเกตว่า Eye ไม่มี s ต่อท้าย เพราะมักพบกับดวงตาเพียง 1 ข้าง) และเมื่อตรวจโครงสร้างของลูกตาก็ไม่มีความผิดปกติใดๆ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เราเรียกว่า “โรคสายตาขี้เกียจ” ซึ่งเหมือนกับว่าตาก็ขี้เกียจทำงานไปซะอย่างนั้น หากไม่รักษาก่อนที่อายุจะมากกว่า 7 ปีขึ้นไป อาจเสี่ยงที่จะบอดไปตลอดชีวิต
สาเหตุของโรค
เกิดจากระบบประสาทมีความบกพร่อง หรือไม่มีการตอบสนองหรือถูกกระตุ้นในการมองเห็นเป็นระยะเวลานานในวัยเด็ก และเรามักพบคนที่เป็นโรคนี้ประมาณร้อยละ 1 ถึง 5 ของจำนวนประชากร บางครั้งเชื่อว่าเป็นผลมาจากโรคตาเหล่ สายตาสั้น สายตายาว ต้อกระจก เป็นต้น
สาย
การผ่าตัด จะเป็นวิธีรักษาหากเป็นผลมาจากการเป็นต้อกระจกตั้งแต่เกิด ถ้าเป็นผลมาจากสายตาสั้น สายตายาว ก็จะใส่แว่นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้สายตาได้ใช้งาน (ไม่ให้มันขี้เกียจ) หรือในบางครั้งจะใช้ผ้าปิดตาข้างที่ปกติ เพื่อกระตุ้นให้ตาที่มีปัญหาได้ใช้งาน จนสามารถมองได้อย่างชัดเจน
Read Original Article and More Detail & Media
“Amblyopia.“. [Online]. via : wiki 2016.