หลังจากยานแคสซินี (Cassini Spacecraft) ทำภารกิจเก็บข้อมูลของดวงจันทร์ Titan เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา ตอนนี้ยานแคสซินีพร้อมทำภารกิจสุดท้ายของมัน
ยานแคสซินีได้โคจรเข้าใกล้ดวงจันทร์ Titan ของดาวเสาร์ ในระยะห่างจากพื้นผิวดาวประมาณ 979 กิโลเมตร เพื่อเก็บข้อมูลภาพถ่ายทะเลบนดาวไททัน รวมถึงทะเลสาบ ซึ่งคาดว่าจะมีสารไอโดรคาร์บอนเป็นองค์ประกอบอยู่มาก หลังค้นพบว่าทางตอนเหนือของดาวพบทะเลสาบมีเทนกระจายตัวเป็นบริเวณกว้าง
แคสซินีเริ่มภารกิจสุดท้ายในวันที่ 26 เมษาฯ นี้
จริงๆแล้วภารกิจสุดท้ายของยานสำรวอวกาศแคสซินีนั้น เป็นภารกิจที่ใช้ช่วงเวลาหลายเดือน แต่ทำซ้ำ กล่าวคือ มันจะโคจรระหว่างดาวเสาร์และวงแหวน ด้วยกัน 22 ครั้ง กินระยะเวลาตั้งแต่ 26 เมษายน ถึง 15 กันยายน หรือประมาณ 4 เดือนหน่อยๆ ความท้าทายของภารกิจนี้คือ มันต้องสร้างความเร็วในการเคลื่อนที่ให้มากพอที่โคจรรอบดาวเสาร์ในระยะใกล้ที่สุดเท่าที่มันเคยสำรวจมา โดยอาศัยความโน้มถ่วงจากการเคลื่อนที่ผ่านดวงจันทร์ Titan ในภารกิจก่อน เหวี่ยงมันให้มีความเร็วต้นมากพอถึง 860.5 เมตรต่อวินาที จึงจะเข้าสู่วงโคจรในระยะใกล้ได้
บางครั้งต้องขาดการติดต่อกับแคสซินี
นาซ่าได้กล่าวว่า ในช่วงเวลาหนึ่งเราต้องขาดการติดต่อกับแคสซินี เมื่อมันเคลื่อนที่ผ่านพื้นผิวดาวเสาร์ในระยะใกล้ที่สุด เนื่องด้วยเหตุผลทางเทคนิค แต่ก็ได้ตั้งเวลาให้มันส่งข้อมูลจากการสำรวจกลับอีกครั้ง ในวันที่ 27 เมษาฯ และเราจะได้รูปภาพในระยะใกล้ที่สุดของดาวเสาร์เท่าที่เคยมีการสำรวจมา
ชมภาพจำลองการสำรวจในภารกิจสุดท้าย (Grand Finale) ของยานสำรวจอวกาศแคสซินี แบบ 360 องศา (VR)
Read Original Article and More Detail & Media
“Cassini Completes Final — and Fateful — Titan Flyby.“. [Online]. via : NASA 2017.