หากคุณได้มีโอกาสไปหอสังเกตการณ์ Paranal ซึ่งตั้งอยู่ในทะเลทราย Atacama ตอนเหนือของชิลี อาจได้เห็นแสงสีส้มวิบวับไปมาบนท้องฟ้า นั่นคือแสงเลเซอร์ที่ถูกสร้างมาจากการกระตุ้นอะตอมของโซเดียม มันมีไว้เพื่ออะไร?
หนึ่งในข้อเสียเปรียบของกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินก็คือ ภาพถ่ายที่ได้มาจะเบลอเนื่องจากการรบกวนของชั้นบรรยากาศของโลก ตามหลักแล้วหากต้องการแก้ปัญหาดังกล่าว เราต้องอาศัยจุดแสงสว่างอ้างอิง (Bright Reference Star) ที่นิ่งในบริเวณข้างเคียงของท้องฟ้าที่ต้องการจะสำรวจ
และแน่นอนว่า “ไม่มี” เนื่องจากแสงจากดาวฤกษ์ทุกดวงต้องวิ่งผ่านชั้นบรรยากาศ แล้วมนุษย์อย่างเรา ๆ จะแก้ปัญหานี้อย่างไร
ไม่มีแสงสว่างจากดาวฤกษ์อ้างอิงก็สร้างเองซะเลย
เรามีนวัตกรรมที่เรียกว่า “เลเซอร์ (LASER)” นักดาราศาสตร์จึงนำเลเซอร์ไปติดกับกล้องโทรทรรศน์และยิงขึ้นไปในชั้นบรรยากาศสูงประมาณ 90 กิโลเมตร ที่ระยะดังกล่าวทำให้เราได้จุดแสงสว่างที่เสมือนว่ามีดาวฤกษ์ และการใช้แสงเลเซอร์ถึง 4 หัวจะทำให้ถ่ายภาพทางดาราศาสตร์มีความคมชัดทั่วทั้งภาพอย่างพอเหมาะนั่นเอง
Bottom line : กล้องโทรทรรศน์ในรูปมีชื่อว่า Very Large Telescope : VLT ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ใช้ในการสำรวจท้องฟ้า โดยใช้กระจกปฐมภูมิกว้างประมาณ 8.2 เมตร
เรียบเรียงโดย Einstein@min
ติดตามผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
แอพ Blockdit : https://www.blockdit.com/thaiscience
Instagram : https://www.instagram.com/thaisciencenews
Twitter : https://twitter.com/Thaiphys