นักโบราณคดีวิเคราะห์กริชโบราณพบว่ามันทำจากโลหะ (Iron) เกือบบริสุทธิ์จากอุกกาตบาตนอกโลก
ตั้งแต่มีการค้นพบหลุมศพของฟาโรห์ทุตอังค์อามุน (tutankhanmun) (คนไทยมักเรียกว่า “ตุตันคาเมน”) โดย เฮาเวิร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter) กับจอร์จ เฮอร์เบิร์ต เอิร์ลที่ 5 แห่งคาร์นาวอน (George Herbert, 5th Earl of Carnarvon) ในปี 1922 ก็พบสมบัติมากมาย หนึ่งในนั้นที่ทีมนักโบราณคดีชาวอิตาเลี่ยน และชาวอียิปต์ในยุคปัจจุบันสนใจก็คือ กริชของฟาโรห์
เหล็กที่มาจากอวกาศ
ความพิเศษของกริชเล่มนี้ หากพูดกันในเชิงประวัติศาสตร์ มันเป็นของที่ทำได้ง่าย แต่วัตถุดิบในการทำนั้นหาได้ยาก เพราะยุคที่ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนยังมีพระชนม์ชีพอยู่นั้น คือราวๆ 14,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช (14th C. BCE) ซึ่งอยู่ช่วงปลายของยุคสำริด (สำริดเกิดจากการหลอมหลวมกันระหว่างทองแดงและดีบุก) ถึงแม้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวจะเริ่มมีการแพร่หลายของโลหะจำพวกเหล็กบ้างแล้วในแถบทะเลเมดิเตอเรเนียน ดังนั้นโลหะที่ใช้ทำกริชของฟาโรห์ต้องหายากเป็นพิเศษ และนักโบราณคดีเชื่อว่ามันต้องมาจากอุกกาบาตโลหะนอกโลก
องค์ประกอบธาตุของกริช
เทคโนโลยีสมัยนี้เราสามารถตรวจหาองค์ประกอบของธาตุอย่างเช่นจากกริชเล่มนี้ได้โดยไม่ทำให้วัตถุโบราณเกิดความเสียหาย นักโบราณคดีเลือกใช้วิธีที่เรียกว่า “X-ray fluorescence spectrometry” เป็นวิธีการอย่างหนึ่งนำรังสีเอกซ์เรย์มาใช้ตรวจหาองค์ประกอบของธาตุโดยพบว่า กริชของฟาโรห์ทุตอังค์อามุน มีเหล็ก (Fe) ผสมถึง 88.62% นิกเกิล 10.8% และโคบอลต์ 0.58% บวกกับความประณีตในการทำของช่างในสมัยนั้นทำให้ได้กริชที่มีความคมและสวยงาม
หมายเหตุ – คำว่า สำริด หรือ สัมฤทธิ์ เขียนได้ทั้งสองแบบ แต่คำว่า “สำริด” เป็นคำโบราณ ปัจจุบันนิยมเขียนเป็น “สัมฤทธิ์” (ราชบัณฑิต)
Read Original Article and More Detail & Media
“The meteoritic origin of Tutankhamun’s iron dagger blade.“. [Online]. via : http://onlinelibrary.wiley.com/ 2016.