Credit : the Conversation
ในปี 1982 นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล ริชาร์ด ไฟน์แมน (Richard Feynman) ได้เสนอไอเดียในการสร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ฐานความรู้จากวิชากลศาสตร์ควอนตัม
คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีหน่วยข้อมูลที่เป็นฐานเล็กที่สุดที่ใช้สำหรับแปลค่า คือ 1 bit โดยมีได้สองค่า ได้แก่ 0 (ศูนย์) และ 1 (หนึ่ง) อย่างใดอย่างหนึ่ง หากเปรียบเทียบก็เหมือนกับการที่ท่านมีภารกิจให้คอมพิวเตอร์คำนวณอยู่ 2 คำสั่ง คอมพิวเตอร์ทั่วไปนั้นจะคำนวณหรือดำเนินการทีละอย่างเท่านั้น A, B, C เป็นไปตามลำดับ
แต่สำหรับควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้นจะอาศัยปรากฏการณ์ทางควอนตัม ทำให้มันสามารถแปลค่าหรือแสดงค่า 0 และ 1 ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ พร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน โดยอาศัยหลักการ Superposition (สถานะของอะตอมที่แสดงให้เห็นต่อผู้สังเกตพร้อมๆกัน) ทั้งนี้ 1 bit ทางควอนตัม จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า Quantum Bit หรือ Qubit
ฉะนั้นจุดได้เปรียบของควอนตัม คือ มันสามารถประมวลผลแบบขนานได้ คือ ประมวลผล A B C ไปพร้อมๆกัน เหมือนนักวิ่งที่ออกจากจุดเริ่มต้นพร้อมๆกัน นั่นทำให้ลดทอนเวลาในการประมวลผลลงเป็นอย่างมาก
Read Original Article and More Detail & Media
“The power of one: single photons illuminate quantum technology.”. [Online]. via : 2016.
“Quantum computing“. [Online]. via : wikipedia 2016.