ในคืนที่ฟ้ามืด และโปร่ง บางครั้งเราอาจจะเห็นจุดแสงที่มีขนาดพอๆกับ ดาวฤกษ์ดวงอื่นๆ แต่เคลื่อนที่เร็วมาก นั่นอาจเป็นความโชคดีของเราที่ได้พบ สถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS โดยบังเอิญ แต่ถ้าหากอยากมีโอกาสได้เห็นอีกในครั้งถัดไป เราสามารถดูได้โดยความตั้งใจของเราเอง ดังนี้
เว็บไซต์ของนาซ่า NASA ได้มีบริการให้เราสามารถตั้งหน้าตั้งตาคอยดูการเคลื่อนที่ผ่านของสถานีอวกาศนานาชาติ บนตำแหน่งที่เราอยู่ได้ โดยสามารถเข้าถึงได้จากไซต์นี้ Spot The Station
ขั้นตอนการใช้
1. ที่เมนู Location Lookup ด้านขวา เลือกตำแหน่งเป็นประเทศไทย และจังหวัดที่เราอาศัยอยู่ (ของไทยมีให้เลือกแค่ กรุงเทพ เชียงใหม่ และสงขลา แนะนำให้เลือกตำแหน่งที่ใกล้เรามากที่สุด)
2. สมมติเลือกจังหวัดสงขลา ก็จะปรากฏเวลาที่ ISS เคลื่อนที่ผ่านน่านฟ้าที่เราอยู่ ระยะเวลาที่มองเห็น มุมเงย ทิศทางที่ปรากฏและทิศทางที่ ISS เคลื่อนหายไปจากท้องฟ้าได้ นอกจากนี้ยังสามารถแชร์ให้คนอื่นๆได้รู้อีกด้วย
3. วิธีมองหาตำแหน่งโดยใช้ตัวแปรจากรูปก่อนหน้านี้ Date, Visible, Max Height, Appears และ Disappear
สมมติข้อมูลที่ท่านได้มาเป็นดังนี้ SpotTheStation! Date: Wed Apr 25 7:45 PM, Visible: 4 min, Max Height: 66 degrees, Appears: WSW, Disappears : NE.
หมายถึง สามารถสังเกตได้ในวันพุธ เดือนเมษายน เวลา 1 ทุ่ม 45 นาที ระยะเวลาการมองเห็น 4 นาที เห็นได้ที่ความสูงสุดที่ 66 องศาจจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ค่อนข้างไปทางตะวันตก และจะหายไปในทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ฉะนั้นเราก็ต้องเริ่มมองหาจุดแสงทาง ทิศตะวันตกเฉียงใต้ค่อนข้างไปทางตะวันตก ดังรูปด้านล่าง อ่านวิธีการมองหาตำแหน่ง ISS โดยละเอียด
Reference and More Detail & pics
“International Space Station Spot The Station.”. [Online]. Available : NASA.GOV 2015.
No Responses