หลักการทำงานของกาลักน้ำ
ผู้ที่ค้นพบกาลักน้ำเป็นคนแรกคาดว่า คือ คเทซิบิอัส ฮีโร่แห่งอะเล็กซานเดรีย ราว 1,500 ก่อนคริสตกาล โดยกาลักน้ำเป็นเครื่องถ่ายโอนของเหลวโดยไม่ต้องพึ่งไฟฟ้าแต่อย่างใด
การทำกาลักน้ำ
กาลักน้ำ หรือ siphon หรือ syphon สามารถทำได้ง่ายๆ โดยใช้สายยางที่บรรจุน้ำไว้เต็มตลอดทั้งสาย จากนั้นจุ่มสายข้างหนึ่งลงภาชนะที่อยู่สูงกว่า และปลายอีกด้านหนึ่งลงในภาชนะที่ต่ำกว่า หรือภาชนะที่ต้องการรับการถ่ายโอนน้ำ โดยต้องจุ่มปลายทั้งสองลงในภาชนะพร้อมๆกัน
หลักการทำงานของกาลักน้ำ
ปลายด้านที่จุ่มลงในภาชนะที่ต่ำกว่า ของเหลวภายในจะถูกดึงลงด้วยความโน้มถ่วงของตัวเอง น้ำจึงไหลลงในภาชนะที่ต่ำกว่า จากนั้นจะเกิดสูญญากาศภายในสายยาง ทำให้เกิดความไม่สมดุลของแรงดัน อากาศด้านบนเหนือภาชนะที่อยู่สูงกว่าจึงดันน้ำให้เข้าไปในสายยาง เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไป (น้ำที่ไหลลงไปในภาชนะที่ต่ำกว่า) ในกรณีนี้ปัจจัยที่มีผลต่อการถ่ายโอนของน้ำ คือ 1. ความโน้มถ่วง 2. แรงดันอากาศ
นักวิทยาศาสตร์มีความสงสัยว่าแรงดันอากาศเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดกาลักน้ำหรือไม่ จึงนำระบบกาลักน้ำไปไว้ในห้องสูญญากาศ ปรากฏว่ามันยังคงทำงานได้อยู่ แสดงว่าต้องมีปัจจัยอื่นที่เข้ามาเพิ่มเติมหรือทดแทนแรงดันอากาศ ซึ่งก็คือ แรง Cohesive โดยเป็นแรงระหว่างโมเลกุลของน้ำ ให้จินตนาการว่าน้ำ คือ ลูกโซ่ที่ต่อสายกันจนมีความยาวมาก เมื่อ 1 ในลูกโซ่เคลื่อนที่ลงมาในภาชนะที่ต่ำกว่า มันก็จะนำพา/ดึง/ฉุด ให้โมเลกุลของน้ำที่เหลือเคลื่อนที่ตามกันมาด้วยนั่นเอง
การทดลองกาลักน้ำในสูญญากาศ
Read Original Article and More Detail & Media
“กาลักน้ำ.”. [Online]. via : wiki 2016.
“siphon.”. [Online]. via : wiki 2016.
“How Does a Siphon Work?.”. [Online]. via : 2016.