เพื่อที่จะฆ่าแบคทีเรียในกระแสเลือด ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราจะทำให้แบคทีเรียเกิด “รู” บนเซลล์และตายในที่สุด
ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ทำได้แค่จับภาพนิ่งซากแบคทีเรียที่มีรูพรุนทั่วทั้งเซลล์ โดยแต่ละรูเกิดจากน้ำมือของระบบภูมิคุ้มกันจะมีขนาดประมาณ 10 นาโนเมตร
กระบวนการเกิดรู (Holes Forming)
รูที่พบบนผิวเซลล์แบคทีเรียเกิดจากเยื่อ Membrane ของแบคทีเรียถูกโจมตีโดยภูมิคุ้มกัน
โดยเซลล์ภูมิคุ้มกันจะสำเนาโปรตีนถึง 18 แบบสำหรับใช้ในการเปิดหลุมบนผิวแบคทีเรีย หาก 1 ใน 18 สำเนาสามารถเจาะผิวแบคทีเรียได้เมื่อไหร่ อีก 17 สำเนาที่เหลือจะรีบกรูเข้าเหมือนสว่านที่เปลี่ยนหัวหลาย ๆ แบบอย่างรวดเร็ว เพื่อหวังทะลวงให้แบคทีเรียตายในที่สุด
ศาสตราจารย์ Bart Hoogenboom หนึ่งในนักวิจัยกล่าวว่า
กระบวนการทะลวงด้วยโปรตีนทั้ง 18 สำเนาดังกล่าวถือว่าเป็นระบบตรวจสอบเซลล์สุขภาพดี (healthy cells) ของร่างกายไปในตัว ไม่ใช่ฆ่าดะไปทั่ว
ถ้าสำเนาโปรตีนทั้ง 18 แบบไม่สามารถทะลวงเซลล์ในร่างกายได้ เซลล์นั้นจะไม่ได้รับความเสียหาย หรือถูกกำจัด
ถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้อย่างไร
สำหรับวิธีการถ่ายภาพเคลื่อนไหวในระดับนาโนเมตรนั้น ภาพที่ได้จะมี Frame Rate ประมาณ 1 ภาพต่อ 1 วินาที ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “กล้องจุลทรรศน์ Atomic Force“
เป็นกล้องที่ใช้เข็มขนาดเล็กและบางมาก (Ultrafine Neddle) ในการลูบสัมผัสโมเลกุลบนพื้นผิว เหมือนกับที่ผู้พิการทางสายตาใช้มือสัมผัสตัวอักษรเบลล์ สแกนพื้นผิวกลับไปมา เพื่อตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของพื้นผิว จนเรารู้กระบวนการได้ว่าระบบภูมิคุ้มกันกำลังฆ่าแบคทีเรียได้อย่างไร
Source:
[1] : Filming how our immune system kill bacteria, phys.org, 2019
[2] : Single-molecule kinetics of pore assembly by the membrane attack complex, NATURE ,2019