งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Australian National หรือ (ANU) พบว่าสาเหตุการสูญพันธ์ุของมนุษย์ Homo erectus อาจเป็นเพราะจากความขี้เกียจ
การขุดค้นทางโบราณคดีของประชากรมนุษย์โบราณในคาบสมุทรอาหรับระหว่างในช่วงยุคหินนี้ พบว่าพวกเขาใช้ “ความพยายามน้อย” ในการทำเครื่องมือเครื่องใช้จากหิน และการเก็บทรัพยากรในธรรมชาติมาใช้ในชีวิตประจำวัน
ไม่ได้กล่าวหาลอย ๆ แต่มีหลักฐาน
ความขี้เกียจที่นักวิจัยกล่าวถึง ก็คือ การขาดความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิต ตามคำกล่าวอ้างของดอกเตอร์ Ceri Shipton
พวกเขาไม่ค่อยสำรวจบริเวณรอบ ๆ ว่ามีอะไรบ้าง และเมื่อดูจากเครื่องมือหินที่ประดิษฐ์นั้น มีคุณภาพการใช้งานต่ำมาก
เพื่อที่จะทำเครื่องมือเครื่องใช้จากหิน แทนที่พวกเขาจะเดินขึ้นเขาไปอีกนิดก็จะเจอหินที่มีความคม คุณภาพดี แต่พวกเขาดันเลือกใช้หินรอบ ๆ แคมป์ หรือที่อยู่อาศัยของตัวเองแทน นี่แสดงให้เห็นว่าพวกเขามีความขี้เกียจอยู่ไม่น้อย
ผู้อ่านอาจคิดว่า เขาอาจไม่รู้ก็ได้ว่าบนเขามีหินที่คุณภาพดี แต่ดอกเตอร์ Ceri ก็มีคำตอบให้ว่า
เมื่อเทียบคุณภาพเครื่องมือเครื่องใช้จากหินกับ Homo sapiens และ Neanderthals เราพบร่องรอยว่าพวกเขาลงทุนปีนเขาเพื่อไปเก็บหินคุณภาพดี และมีกระบวนการนำหินส่งกลับมายังด้านล่างอย่างเป็นระบบมากกว่า
แล้ว Homo erectus สูญพันธุ์ได้อย่างไร
เมื่อพวกเขาใช้ชีวิตแบบเดิม ๆ เป็นเวลานาน แต่ธรรมชาติกลับเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ บริเวณคาบสมุทรอาหรับ เริ่มกลายเป็นทะเลทราย ดอกเตอร์ Ceri เชื่อว่าท้ายที่สุดความแห้งแล้งทำให้พวกเขาไม่สามารถดำรงชีพได้อีกต่อไป
การสำรวจและวิจัยนี้เริ่มตั้งแต่ปี 2014 ตั้งอยู่บริเวณ Saffaqah ใกล้เมือง Dawadmi ตอนกลางของ Saudi Arabia และคณะวิจัยได้ตีพิมพ์ผลงานลงในวารสาร PLoS One Scientific Journal โดยผู้อ่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านลิงก์ข้างล่าง
Read Original Article and More Detail & Media
“Acheulean technology and landscape use at Dawadmi, central Arabia.”. [Online]. via : PLOS 2018.
No Responses