ในปี 1981 – 82 ภารกิจสำรวจอวกาศของยาน Voyager ค้นพบว่าขั้วเหนือของดาวเสาร์มีเมฆที่เคลื่อนที่อย่างแปลกประหลาด โดยมันมีลักษณะเหมือนหกเหลี่ยม
เมฆหกเหลี่ยม (Hexagon cloud) บนดาวเสาร์นั้นมีขนาดกว้างประมาณ 13,800 กิโลเมตร หรือใหญ่มากกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางโลกเล็กน้อย (ของโลกประมาณ 12,700 กิโลเมตร เอาโลกใส่ไปตรงกลางเมฆหกเหลี่ยมได้เกือบพอดี) หมุนหนึ่งรอบใช้เวลา 10 ชั่วโมง 39 นาที และอีก 24 วินาที และคาบการเคลื่อนที่ที่ว่าดันเท่ากับรอบการปลดปล่อยของรังสีวิทยุที่เกิดจากภายในโครงสร้างของดาวเสาร์อีกด้วย
และเมื่อลองสังเกตการณ์ขั้วใต้ของดาวเสาร์จากกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล นักดาราศาสตร์กลับไม่พบอะไรที่มีลักษณะคล้ายเมฆหกเหลี่ยมเหมือนขั้วเหนือของดาวเสาร์เลย
การสำรวจเมฆหกเหลี่ยมบนดาวเสาร์เกิดขึ้นอีกครั้ง หลังจากยาน Cassini วิ่งผ่านดาวเสาร์ในปี 2006 โดยคราวนี้ไม่ได้จับภาพในคลื่นที่ตามองเห็น แต่เป็นคลื่นในย่านความร้อน เช่น อินฟราเรด และเมื่อเมฆหกเหลี่ยมอยู่ในองศาที่แสงจากดวงอาทิตย์ส่องถึงและสะท้อนมายังกล้องของ Cassini ก็สามารถจับเป็นภาพวีดิโอส่งมายังโลกให้เราวิเคราะห์ได้
คำอธิบายปรากฏการณ์
หนึ่งในการทดลองชื่อดังเพื่ออธิบายปรากฏการณ์เมฆหกเหลี่ยมบนดาวเสาร์ คือการทดลองจากมหาวิทยาลัย Oxford โดยนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานก่อนการทดลองว่า สาเหตุที่เมฆเคลื่อนตัวเป็นรูปหกเหลี่ยมเพราะความเร็วเชิงมุมแต่ละตำแหน่งที่ห่างจากจุดศูนย์กลางของเมฆหกเหลี่ยมมีค่าไม่เท่ากัน และความเร็วเชิงมุมระดับหนึ่งจะทำให้เกิดคลื่นนิ่ง (เกิดจากคลื่นหลายขบวนวิ่งผ่านกัน ความถี่พอๆกัน แต่เฟสตรงกันข้าม) ที่แสดงผลออกมาเป็นรูปหกเหลี่ยม
จากนั้นนักวิจัยทดลองให้ของไหลเคลื่อนที่สวนกันตามข้อสันนิษฐาน ก็พบการก่อตัวของรูปหลายเหลี่ยม (Polygon) ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปหกเหลี่ยมเสมอไป ดังนั้น ความเร็วในการเคลื่อนตัวจึงมีผลต่อรูปร่างของเมฆ ส่วนคำอธิบายที่ว่าทำไมขั้วใต้ของดาวเสาร์ไม่มีเมฆหกเหลี่ยมบ้าง ก็เป็นเพราะความเร็วในการเคลื่อนที่ของเมฆแต่ละบริเวณนั้นแทบไม่ต่างกันนั่นเอง
ดาวพฤหัสบดีมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊ส และที่ไม่มีเมฆหกเหลี่ยมเหมือนดาวเสาร์ทั้งขั้วเหนือและใต้ ก็สามารถอธิบายได้ด้วยการทดลองตามที่กล่าวมา
การทดลองสร้างเมฆหกเหลี่ยม
Read Original Article and More Detail & Media
“Saturn’s hexagon.“. [Online]. via : wiki 2016.
“A laboratory model of Saturn’s North Polar Hexagon.“. [Online]. via : sciencedirect.com 2016.