ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ประกาศต่อสื่อมวลชนว่าจะฟื้นคืนชีพช้างขนปุย หรือแมมมอธ ที่สูญพันธุ์ไปราว 40,000 ปีก่อน
การคืนชีพสิ่งมีชีวิตนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ในสมัยนี้ ด้วยเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม หรือการตัดแต่งยีน (Gene) นั้นล้ำหน้าไปมาก โดยโครงการนี้ถูกเรียกในชื่อว่า “De-Extinction” แปลว่า “ทำให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง หรือไม่ต้องสูญพันธุ์อีกต่อไป”
ทีมวิจัยแพลนว่าจะใช้ยีนที่สกัดจากเซลล์ของแมมมอธที่ถูกพบแช่แข็งในเขตหนาวไซบีเรีย ใส่เข้าไปใน Embryo ของช้างเอเชีย ซึ่งมีพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกัน เพื่อสร้างช้างลูกครึ่งหรือไฮบริด (Hybrid) วิธีคล้ายกับการสร้างสิ่งชีวิตไฮบริดครึ่งคนครึ่งหมูจากข่าวก่อนหน้านี้
ช้างไฮบริดที่เกิดขึ้น แน่นอนว่าต้องมีลักษณะร่วมกันระหว่างช้างเอเชียในยุคปัจจุบันและช้างแมมมอธ และ ณ ตอนนี้งานวิจัยคืบหน้าไประดับหนึ่ง กล่าวคือ ประสบความสำเร็จในการนำยีนจำนวน 45 ตำแหน่งใส่เข้าไปในเซลล์ช้างปัจจุบันแล้ว โดยใช้เทคนิคปรับแต่งยีนที่เรียกว่า CRISPR/Cas9
เพื่อแทนที่ระหว่างยีนที่กำหนดลักษณะผิวของช้างเอเชีย เปลี่ยนไปเป็นยีนที่กำหนดลักษณะการมีขนยาวของช้างแมมมอธแทน (Wooly Mammoth) – เราจะมีช้างเอเชียที่ขนยาวเหมือนแมมมอธ
Edze Westra นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Exeter จากสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมวิจัย และเป็นผู้เชี่ยวชาญการปรับแต่งยีนด้วยเทคนิค CRISPR กล่าวอย่างตื่นเต้นว่า “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าช้างไฮบริดตัวนี้ถือกำเนิดขึ้นมา โลกจะต้อนรับมันแบบไหนกัน”
Read Original Article and More Detail & Media
“Harvard Scientists Say They Could Be Just 2 Years Away From Resurrecting Woolly Mammoth Genes.“. [Online]. via : sciencealert 2017.
“Woolly mammoth will be back from extinction within two years, say Harvard scientists.“. [Online]. via : telegraph.co.uk 2017.