นักบินอวกาศบน ISS หรือ International Space Station ทั้ง 6 คน จะเป็นคนกลุ่มแรกของโลกที่ได้กินผักสลัดอวกาศ
ผักที่ปลูกในอวกาศนั้นส่วนใหญ่จะเป็นผักกาดโรมันสีแดง ซึ่งเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วที่นาซ่าได้ร่วมมือกับเอเจนซี่ต่างๆในการทดลองปลูกผักในอวกาศ และตัวอย่างผักที่ได้ส่วนใหญ่มักจะถูกส่งกลับมาทดสอบบนโลก มากกว่ากินในทันทีที่ผักโตสมบูรณ์
Orbital Technologies (ORBITTEC)
บริษัท Orbittec ซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับศูนย์อวกาศเคนเนดี้ (Kennedy Space Center) ได้พัฒนาระบบในการปลูกพืชนี้ที่เรียกว่า “Veggie” ซึ่งส่วนใหญ่จะทดลองปลูกพืชตระกูลสลัด เช่น ผักกาดแดง โดยใช้เทคโนโลยีคล้ายระบบเรือนกระจกจากไฟ LEDs ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่พลังงานส่วนใหญ่ไม่เสียไปในรูปความร้อน และที่สำคัญไฟจากหลอด LEDs จะให้แสงในความถี่ค่าใดค่าหนึ่ง
เวลากลางวัน กลางคืน ปัญหาใหญ่ในการปลูกพืชในอวกาศ
การปลูกพืชบนโลก แสงอาทิตย์จะขึ้นลงตามเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง แต่ในอวกาศจำเป็นที่ต้องสร้างระบบกลางวันกลางคืน เพื่อให้พืชปรับตัวได้เช่นกัน เพราะถ้าหากไม่สามารถทำให้พืชปรับตัวที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตได้ (เช่น อยู่ในที่มืดอย่างเดียว) มันจะสร้างแก๊สเอธิลีน (Ethylene) ซึ่งจะทำให้ผลผลิตที่ได้สุกเร็วเกินไป แต่นับว่าโชคดีที่สามารถไฟ LEDs ที่ให้แสงที่มีความยาวเฉพาะค่าได้ ซึ่งโครงการวิจัยชีวการแพทย์อวกาศนานาชาติ (National Space Biomedical Research Program) หรือ NSBRI ค้นพบว่าเมื่อให้แสงที่มีความยาวคลื่นที่ต่างกัน จะส่งผลให้พืชตอบสนองได้ว่าจะอยู่ในสภาวะตื่น หรือหลับ ซึ่งก็คือวงจรการดำรงชีวิตของพืชบนพื้นโลกนั่นเอง
Reference and More Detail & pics
“Space Farming Yields a Crop of Benefits for Earth.”. [Online]. via : nasa.gov 2015.