โดยอาศัยข้อมูลจากหลาย ๆ ส่วน ได้แก่
- ภาพจากดาวเทียมในปัจจุบัน
- สถานีตรวจวัดอากาศ (Weather Stations)
- โมเดลสภาพอากาศ (Sophisticated Climate Models)
- ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ก่อนเทคโนโลยีดาวเทียมจะเข้ามามีบทบาท
แต่เดิมเราประมาณการละลายย้อนหลังสุดได้แค่ ค.ศ. 1990 เพราะถอยระยะเวลาไปไกลกว่านั้นข้อมูลจะไม่น่าเชื่อถือ แต่เมื่อได้ภาพเก่าแก่จากดาวเทียมภาคพื้น (Landsat Satellite) ดวงแรกในเขตประเทศเดนมาร์ก มาช่วยวิเคราะห์ ทำให้ขยายขอบเขตการวิเคราะห์ไปได้ถึงปี ค.ศ. 1972 หรือย้อนไปได้อีก 18 ปี
Eric Rignot นักธารน้ำแข็งวิทยา (Glaciology) ชาวฝรั่งเศกล่าวว่า
“เมื่อมองย้อนหลังไปหลายสิบปี อัตราการละลายสูงมากเกินกว่าที่คุณจะนั่งติดเก้าอี้ได้”
Eric Rignot
อัตราการละลายที่สูงกว่าเดิม 6 เท่า
ปัจจุบันนักธารน้ำแข็งวิทยา (Glaciology) ใช้ 3 วิธีการในการวัดอัตราการละลายของน้ำแข็ง
- ใช้ดาวเทียมยิงเลเซอร์ วัดความสูงที่เปลี่ยนไป เมื่อดาวเทียมเคลื่อนที่ผ่าน เช่น วันนี้โดยเฉลี่ยความสูงจากแผ่นน้ำแข้งถึงดาวเทียมอยู่ 1000 กิโลเมตร วันต่อมาเหลือ 999.50 กิโลเมตร แสดงว่าหายไป 0.5 กิโลเมตรในระยะเวลา 1 วัน และเมื่อทราบพื้นที่ของแผ่นน้ำแข็ง นำมาคูณกับความสูงที่เปลี่ยนไป ทำให้ได้ปริมาตรของน้ำแข็งที่ละลายต่อช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ
- วัดความแปรปรวนของแรงโน้มถ่วง จากการสูญเสียมวลของแผ่นน้ำแข็ง เทคนิคนี้เป็นเทคนิคใหม่เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 หลังจากที่ NASA ได้ส่งดาวเทียมกับเครื่องมือวัดสู่วงโคจร
- ใช้โมเดลที่เรียกว่า “Mass Balance”
ถ้าให้ A = มวลของน้ำแข็งที่ถูกสร้าง/ก่อตัวจากการตกของหิมะ และ B = มวลที่หายไป เช่น การปลดปล่อยของธารน้ำแข็ง)
นำ A – B จะได้มวลที่เหลืออยู่ของแผ่นน้ำแข็งโดยประมาณ
นักวิทยาศาสตร์ใช้ 3 โมเดลนี้ร่วมกันวิเคราะห์ย้อนกลับไปในช่วงปี 1970 – 1980 พบว่า
ในปี 1970 Greenland ในยุคนั้นมีอัตราการละลายอยู่ที่ 47 กิกะตันต่อปีโดยเฉลี่ย และทรงตัวไปถึงปี 1980
จนกระทั่งย่างเข้าปี 1990 เป็นต้นไป อัตราการละลายเพิ่มขึ้นแบบมีความเร่ง เช่น
- ปี 2000 อัตราการละลายอยู่ที่ 187 กิกะตันต่อปี
- ปี 2010 อัตราการละลายอยู่ที่ 286 กิกะตันต่อปี
หากคิดย้อนไปตั้งแต่ปี 1980 ถึงปัจจุบัน นั่นหมายถึงอัตราการละลายเพิ่มขึ้นมาถึง 6 เท่า!!
นักวิจัยหวังว่าข้อมูลใหม่นี้จะใช้ในการศึกษาผลกระทบในระยะยาวต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์ในบริเวณชายฝั่งทะเลทั่วโลก
Source:
[1] : Jérémie Mouginot el al., “Forty-six years of Greenland Ice Sheet mass balance from 1972 to 2018,” PNAS (2019).
[2] : Researchers calculate decades of ‘scary’ Greenland ice melting,, Phys.org 2019
Wow