ดาวหาง 45P/Honda-Mrkos-Pajdusakova ที่เปล่งแสงสีเขียวนี้ กำลังโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์อีกครั้งในรอบ 5 ปี และจะสว่างที่สุดในช่วงสุดสัปดาห์นี้
ย้อนไปในวันที่ 3 เดือนธันวาคม ปีคริสต์ศักราช 1948 นักดาราศาสตร์สามท่านได้สังเกตเห็นดาวหาง 45P นี้เป็นครั้งแรก โดยได้พูดถึงลักษณะโดยทั่วไปของดาวหาง 45P นี้ว่า
- เป็นดาวหางวงโคจรสั้น กล่าวคือ เป็นดาวหางที่ใช้ระยะเวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์น้อยกว่า 200 ปี ทั้งนี้ดาวหางแฮลลีย์ก็เป็นหนึ่งในนั้น
- มีวงโคจรเป็นรูปวงรี
- มีนิวเคลียสสีเขียว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 – 1.6 กิโลเมตร
- เป็นดาวหางลำดับที่ 50 ที่ถูกตรวจพบด้วยกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดิน
- คาบวงโคจร 5.25 ปี
元旦の45P/Honda-Mrkos-Pajdusakova (2016)
5DⅢ ISO800 300mm 2.8 10sec.×ave.53 pic.twitter.com/23qEl1Q6BD— 佐藤常文 (@w_coast) January 1, 2017
ทั้งนี้ดาวหาง 45P/Honda-Mrkos-Pajdusakova (ชื่อเต็ม) จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ และสว่างมากสุดในช่วงก่อนรุ่งเช้าในวันเสาร์นี้ (Magnitude ประมาณ +7) มองเห็นด้วยตาเปล่าได้ยาก แม้จะใช้กล้องส่องทางไกล เพราะความสว่างน้อยมาก อีกทั้งแสงรบกวนเริ่มมีมากขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ฉะนั้นควรใช้กล้องโทรทรรศน์จะดีที่สุด
Read Original Article and More Detail & Media
“45P/Honda–Mrkos–Pajdušáková.“. [Online]. via : wiki 2016.
“Will you see Comet 45P at its closest?.“. [Online]. via : earthsky.org 2016.