ในปี ค.ศ. 1979 มีการค้นพบ Quasar QSO 0957+561A/B เรียกในชื่อเล่นว่า “Twin Quasar”
เนื่องจากแสงจาก Quasar เดินทางผ่านวัตถุมวลมากอย่างกาแล็กซี
จะเกิดการวิ่งเบนอ้อมกาแล็กซี ทำให้ผู้สังเกตที่อยู่ด้านหลังเห็นเหมือนมี Quasar 2 แห่ง เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “เลนส์ความโน้มถ่วง”
และเรียกกาแล็กซีมวลมากที่มีความโน้มถ่วงสูงจนทำให้แสงเบนได้ว่า “Lensing Galaxy – โซนสีออกเหลืองส้มใกล้กับ Quasar ลวงตาในรูป” ซึ่งเปรียบเสมือนชิ้นเลนส์ที่ทำให้แสงเบนได้ ซึ่งกาแล็กซีดังกล่าวที่ทำให้เราสังเกตเห็น Quasar เป็นสองภาพ มีชื่อว่า “YGKOW G1” หรือบางครั้งเรียกว่า “G1 หรือ Q0957 +561 G1) เป็นกาแล็กซีทรงรีชนิด cD
ผลงานการค้นพบ Twin Quasar เป็นของทีมนักวิทยาศาสตร์ 3 ท่าน คือ Dennis Walsh, Robert Carswell และ Ray Weyman โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาด 2.1 เมตร ณ หอสังเกตการณ์นานาชาติ Kitt Peak ในรัฐ Arizona
นอกจากภาพดังกล่าวจะเป็นทำให้เห็นปรากฏการณ์ Redshift ด้วยแล้ว ทีมยังสังเกตเห็นว่า Quasar สองแห่ง ทำไมช่างเหมือนกันเป๊ะ ๆ อย่างน่าประหลาด จนภายหลังตรวจสอบพบว่า “เป็นผลพวงมาจากเลนส์ความโน้มถ่วง” นั่นเอง
นำมาสู่การค้นพบหลักฐานทางดาราศาสตร์ที่ยืนยันการมีอยู่ของปรากฏการณ์เลนส์ความโน้มถ่วงที่ไอน์สไตน์อธิบายไว้ในปี ค.ศ. 1936 ซึ่งเขาไม่เคยหวังไว้ว่าจะมีการสังเกตปรากฏการณ์โดยตรงแบบนี้ได้
วงแหวนไอน์สไตน์ (Einstein Ring)
แสงที่เคลื่อนที่ผ่านบริเวณที่มีความโน้มถ่วงสูงอย่างกาแล็กซี สนามโน้มถ่วงรอบ ๆ กาแล็กซีจะมีขอบเขตที่ทำให้แสงเบนได้อยู่ระยะรัศมีหนึ่ง เราเรียกรัศมีนั้นว่า “Einstein Radius” และเรียกวงขอบเขตดังกล่าวว่า “Einstein Ring” (สนใจสมการคลิก – https://en.wikipedia.org/wiki/Einstein_ring)
หมายเหตุ – Quasar หรือ Quasi-Stellar เป็นเทหวัตถุที่ส่องแสงสว่างไสว อาจเป็นหลุมดำมวลยิ่งยวด (Supermassive Black Hole) ที่กำลังดึงดูดมวลสารเข้าสู่ใจกลาง ขณะที่แก๊สเคลื่อนที่ตกลงไปในหลุมดำ จะปลดปล่อยพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Quasar บางแห่งมีความส่องสว่างมากกว่าทั้งกาแล็กซีโดยทั่วไป (มากกว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกก็มี)
ทั้งนี้คำว่า Quasar ถูกเรียกครั้งแรกโดยนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์เชื้อสายจีน (แต่เป็นชาวอเมริกัน) นามว่า Hong-Yee Chiu ในปี 1964 ผ่านวารสาร Physics Today ในหัวข้อ Gravitational Collapse : https://physicstoday.scitation.org/doi/10.1063/1.3051610
เรียบเรียงโดย Einstein@min
ช่องทางติดตามข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แอพ Blockdit : https://www.blockdit.com/thaiscience
Instagram : https://www.instagram.com/thaisciencenews
Twitter : https://twitter.com/Thaiphys