การศึกษาใหม่ในวารสารวิทยาศาสตร์ (Journal Science) พบว่า ภาวะโลกร้อนจะมีส่วนผลักดันให้สิ่งมีชีวิต 1 ในทุกๆ 13 สปีชีส์ต้องสูญพันธุ์
ภาวะโลกร้อนเลวร้ายกว่าที่คิด
ในทวีปอเมริกาเหนือจะมีสิ่งมีชีวิต 1 ใน 20 สปีชีส์ที่ล้มตายเนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ยุโรปอัตราการสูญพันธุ์อยู่ในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนทวีปอเมริกาใต้ สภาพอากาศร้อนจัดส่งผลให้อัตราการสูญพันธุ์อยู่ที่ 23% ซึ่งแย่ที่สุดในบรรดาทุกทวีปของโลก
กบ Nursery ในควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ถูกพบได้เฉพาะในบริเวณเขตร้อนชื้น มันไม่สามารถอยู่ในบริเวณอื่นๆได้ หากภาวะโลกร้อนไปส่งผลกระทบให้ฝนตกน้อยลง Credit Jean – Marc Hero via wikimedia commons
อัตราการสูญพันธ์
Mark Urban จากมหาวิทยาลัยคอนเนคติคัต (University of Connecticut) ทำงานเป็นนักนิเวศวิทยา ได้รวบรวม วิเคราะห์ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลายทางสายพันธุ์กว่า 131 ชนิดและใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์อัตราการสูญพันธ์โดยเฉลี่ยปกติ (General Average Extinction Rate) ของโลก พบว่าอยู่ที่ 7.9 % นั่นถือเป็นค่าตัวแทนของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทุกภูมิภาค โดยคำนึงจากหลายสมมติฐานเกี่ยวกับแนวโน้มในอนาคตของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์สร้างขึ้น การคำนวณอัตราการสูญพันธุ์ในครั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องหายไปทั้งหมด แต่จะมีสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่มีจำนวนลดลง
“การคำนวณอัตราการสูญพันธุ์ในครั้งนี้ จะมากขึ้นหรือน้อยลงก็ขึ้นอยู่กับการที่มนุษย์จะใช้พลังงานจากถ่านหิน น้ำมันและแก๊สมากเท่าไหร่ ถึงแม้มันจะส่งผลต่อการเพิ่มอัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในระดับ 2.8% ก็ตาม แต่อย่าลืมว่ากิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ของมนุษย์จะช่วยเพิ่มปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และอุณหภูมิอีกด้วย” Mark Urban กล่าว
รู้หรือไม่? เทือกเขาร็อกกี้แคนนาเดียน (Canadian Rockies Mountain) เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาร็อกกี้ (Rocky Mountains) อยู่ตอนเหนือของสหรัฐ จุดที่มีความสูงที่สุด สูงประมาณ 3,954 เมตร และความยาวเทือกเขาประมาณ 1,450 กิโลเมตร ในขณะที่เทือกเขาร็อกกี้มีจุดที่สูงที่สุดประมาณ 4,400 เมตร และยาวถึง 4,800 กิโลเมตร |
Reference and More Detail & pics
“Global warming to push one in 13 species to extinction.”. [Online]. Available : phys.org 2015.
“Oil refinery.”. [Online]. Available : freeimages.com 2015.
“Ringrose“. Licensed under Public Domain via Wikimedia Commons.