ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการธรณีวิทยาของดาวอังคารได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ยานคิวริออซิตี้ (Curiosity) ได้เยือนไปถึงเมื่อไม่กี่ปีมานี้ แต่ยังมีข้อมูลเชิงลึกบางอย่างที่ยังยากที่จะค้นหา เช่น สนามแม่เหล็กของดาวอังคาร ซึ่่งในปัจจุบันแทบจะตรวจหาไม่พบเลย
ยานคิวริออซิตี้ช่วยค้นหาร่องรอยของสนามแม่เหล็ก
ยานคิวริออซิตี้ (Curiosity) ได้ลงจอดบริเวณ Gale crater ซึ่งเป็นหลุมที่เกิดขึ้นเมื่อ 3.61 พันล้านปีก่อน ด้วยความที่เป็นภูมิประเทศอันเก่าแก่ และเป็นบริเวณที่จะทำให้เราศึกษาและเข้าใจดาวอังคารในยุคก่อนหน้านี้
ยานคิวริออซิตี้ (Curiosity) ได้พบหินบะซอลต์ในบริเวณ Gale crater ซึ่งมีความแตกต่างทางอายุในเชิงธรณีวิทยามากกว่าบริเวณอื่นๆ โดยหินบะซอลต์นี้มีชื่อเรียกว่า light-toned rocks ยานคิวริออซิตี้จึงได้จัดเก็บตัวอย่างจากเศษหินด้วยกันถึง 22 ตัวอย่าง และวิเคราะห์ออกมา ทำให้พบว่าเป็นหินเฟลด์สปาร์ (Feldspar) ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแร่แม่เหล็ก แสดงว่าดาวอังคารน่าจะเคยมีสนามแม่เหล็กมาก่อน
องค์ประกอบของหินเฟลด์สปาร์ (Feldspar) เป็นโลหะอัลคาไลน์ (alkaline) 67% เป็น 14% เป็น และที่เหลืออีก 19% เป็นสารอื่นๆ หลังจากได้วิเคราะห์องค์ประกอบของหินบริเวณ Gale crater ก็พบว่าส่วนใหญ่เต็มไปด้วยหินเฟลด์สปาร์ (Feldspar) และบริเวณทางใต้ของดาวอังคารจะมีความหนาแน่นน้อยกว่าที่อื่นๆ นักวิทยาศาสตร์จึงสรุปว่าหินแร่แม่เหล็กที่พบนี้เคยเป็นองค์ประกอบหลักของเปลือกทวีปดาวอังคาร และอาจมีส่วนคล้ายกับเปลือกทวีปที่เก่าแก่ที่สุดของโลก
Reference and More Detail & pics
“evidence for continental crust on early Mars.”. [Online]. Available : nature.com 2015.
“mars.”. [Online]. Available : freeimages.com 2015.
“PIA19674-Mars-GaleCrater-SurfaceMaterials-20150619” by NASA/JPL-Caltech/Arizona State University. – http://photojournal.jpl.nasa.gov/jpeg/PIA19674.jpg. Licensed under Public Domain via Wikimedia Commons.