ปัจจุบันเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงไวรัสหลายตัวเริ่มมีภาวะดื้อยา นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่หยุดยั้งในการหาตัวยาใหม่ๆ หนึ่งในนั้นสกัดได้จากเมือกของกบ
เมือกของกบ Hydrophylax Bahuvistara จากอินเดียตอนใต้เต็มไปด้วยโมเลกุลที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสได้ และนักวิจัยกำลังตรวจสอบว่าเป็นแหล่งสรรพคุณทางยาที่มีศักยภาพพอในการใช้ยาต่อต้านจุลินทรีย์ใหม่ๆได้หรือไม่ ถึงแม้ตอนนี้มันช่วยป้องกันไม่ให้หนูในห้องทดลองติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้
ปกติสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะสร้างเปปไทด์ (Peptide) เพื่อป้องกันเชื้อจุลินทรีย์ที่ส่งผลร้ายต่อร่างกาย ซึ่งเป็นกลไกทางธรรมชาติ นักวิจัยเลยนำเชื้อไวรัสที่เก็บตัวอย่างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 มาฆ่าเชื้อโดยใช้สารที่สกัดจากเมือกของกบ Hydrophylax B. ปรากฏว่ามันสามารถฆ่าเชื้อได้เป็นหลากหลายสายพันธุ์ และได้มีการตั้งชื่อสารเปปไทด์นี้ว่า “Urumin” ซึ่งเป็นชื่อของดาบที่ยาวเหมือนแส้ มีความยืดหยุ่นสูง เป็นดาบที่พบได้ในอินเดีย
การเก็บเมือกจากกบ
สาเหตุที่กบตัวนี้ได้รับความสนใจมาก นอกจากเปปไทด์ที่พบในเมือกของมันช่วยป้องกันโฮสต์ไม่ให้ติดเชื้อแล้ว ยังเป็นเรื่องง่ายที่จะแยกเปปไทด์จากเมือกของมัน โดยนักวิจัยสามารถเก็บเมือกของมันได้โดยการช็อตไฟฟ้ากำลังต่ำ เพื่อกระตุ้นการหลั่งเมือกของมัน
ผลงานวิจัยตีพิมพ์เมื่อวันที่ 18 เมษายนในวารสาร Immunity
Read Original Article and More Detail & Media
Immunity, Holthausen et al.: “An Amphibian Host Defense Peptide Is Virucidal for Human H1 Hemagglutinin-Bearing Influenza Virusest” http://www.cell.com/immunity/fulltext/S1074-7613(17)30128-0 , DOI: 10.1016/j.immuni.2017.03.018