เชื้อแบคทีเรียดื้อยา (Antibiotic Resistance) หรือมักเรียกว่า ‘Superbug‘ มักใช่สื่อถึงเชื้อที่มีความสามารถปรับตัวให้ทนต่อฤทธิ์ของยา ทำให้ต้องใช้ยาตัวอื่นหรือเปลี่ยนแบบแผนการรักษา
นอกจากจะส่งผลให้ผู้ที่ติดเชื้อมีอาการป่วยที่อาจใช้เวลารักษานานขึ้น ยังส่งผลต่อค่าใช้จ่ายการรักษาต่อครั้งสูงขึ้นอีกด้วย แบกรับทั้งผู้ป่วยหรือสถานพยาบาลเลยทีเดียว เรียกได้ว่าเชื้อตัวเล็กแต่ผลกระทบนี่ใหญ่ใช่ย่อย
E. Coli เป็นเชื่อแบคทีเรียที่ถือได้ว่ารู้จักกันมากที่สุด เพราะพบได้ทั่วไปในลำไส้ของสัตว์เลือดอุ่นรวมถึงมนุษย์ ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่มีอันตรายและมีประโยชน์ต่อร่างกายเราอีกด้วย เช่น ช่วยสร้างวิตามินเค และวิตามินบี 6 แต่บางสายพันธุ์ก็ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้เช่นกัน เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด
หนึ่งในข้อสนใจที่นักวิจัยท่านอื่นยังหาคำตอบไม่ได้ก็คือ เชื้อ E. Coli ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์แพร่เข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างไร
หนึ่งในวิธีการแรก ๆ และสามัญ ก็คือ นักวิจัยได้รวบรวมจีโนมของเชื้อ E. Coli ที่ดื้อยาจากทั่วสหราชอาณาจักร ไม่ว่าจะมาจากคนไข้ ท่อระบายน้ำทิ้ง เนื้อไก่สด หรือแม้กระทั่งอุจจาระมนุษย์
โดยในตอนแรกนักวิจัยให้ความสำคัญของความสะอาดของอาหารการกิน เช่น ค้นหาเชื้อ E. Coli จากผลไม้กว่า 400 ชนิด ผักต่าง ๆ เนื้อสด แต่ก็ไม่พบนัยสำคัญว่ามนุษย์อย่างเรา ๆ จะติดเชื้อดื้อยาจากห่วงโซ่อาหารได้อย่างไร
เหตุที่มั่นใจเพราะเชื้อที่พบในเนื้อไก่ขายปลีกตั้งแต่สกอตแลนด์ไปจนถึงอังกฤษพบเพียง 40% จากตัวอย่างที่ตรวจ แถมเป็น เชื้อคนละสายพันธุ์ กับที่พบในเลือดมนุษย์ที่ติดเชื้อ หรือในอุจจาระมนุษย์
อ้าวแล้วเราติดเชื้อจากทางไหน จากรายงานกล่าวแบบตะลึง ๆ เลยว่าว่าอนุภาคเชื้อมันต้องส่งออกจากอุจจาระมนุษย์คนหนึ่งไปถึงปากอีกคนหนึ่งอย่างแน่นอน
(ต้นฉบับ – “Rather—and unpalatably—the likeliest route of transmission for ESBL-E. coli is directly from human to human, with faecal particles from one person reaching the mouth of another.)
พระเจ้าาา! แต่ตามรายงานก็ไม่ได้ศึกษาลงลึกถึงขนาดว่ามันมาถึงปากเราได้อย่างไร แต่งานวิจัยจัดทำขึ้นเพื่อบ่งชี้ว่าจริง ๆ แล้วเราอาจเข้าใจผิดว่าเชื้อ E. Coli มาจากอาหารเป็นส่วนใหญ่ก็เป็นได้ (อย่าลืม เชื้อคนละตัวกันกับที่ทำให้เราเจ็บป่วย) แต่ถึงกระนั้นเพื่อความชัวร์ ควรรับประทานอาหารปรุงสุก โดยเฉพาะไก่ ผักสลัดต้องชัวร์ว่าล้างสะอาด และควรล้างมือทุกครั้งเมื่อกลับถึงบ้าน หรือเข้าออกหลังเสร็จกิจธุระในห้องน้ำ ก็ช่วยให้เราลดโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือดได้แล้วครับ
เรียบเรียงโดย Einstein@min
Sources :
[1] Poor toilet hygiene, not food, spreads antibiotic-resistant E. coli superbugs. medicalxpress.com, 2019 : https://medicalxpress.com/…/2019-10-poor-toilet-hygiene-foo…
ติดตามผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
แอพ Blockdit : https://www.blockdit.com/thaiscience
Instagram : https://www.instagram.com/thaisciencenews
Twitter : https://twitter.com/Thaiphys