กุล่มนักวิจัยประกอบไปด้วยนักดาราศาสตร์และนักฟิสิกส์ได้รายงานการตรวจพบหลุมดำ
ที่ซ่อนตัวเองอยู่เงียบ ๆ โดยสังเกตจากปรากฎการณ์ Interstellar Gas Cloud
หลุมดำดังกล่าวมีขนาดมวลปานกลาง (Intermediate – mass black hole) ซึ่งเป็น 1 ในล้านของจำนวนหลุมดำที่เชื่อว่ายังไม่ถูกตรวจพบในกาแล็กซีของเรา ผลการตรวจพบอาจทำให้เข้าใจวิวัฒนาการของหลุมดำในระดับที่สูงขึ้นไปอีกขั้น
ตรวจพบได้อย่างไร ในเมื่อหลุมดำดูดได้แม้กระทั่งแสง
หลุมดำมีแรงโน้มถ่วงสูงมาก แม้กระทั่งแสงก็ไม่สามารถหนีออกจากแรงดึงดูดมหาศาลนี้ได้ จึงทำให้ยากที่เราจะตรวจพบด้วยกล้องโทรทรรศน์ แต่นักดาราศาสตร์อาศัยการรบกวนของหลุมดำเอง กับวัตถุในอวกาศรอบ ๆ เมื่อมันเคลื่อนที่ผ่าน อย่างกลุ่มแก๊สร้อน ถ้าปกติเราเห็นมีรูปร่างไร้ระเบียบ อยู่ดี ๆ ก็เหมือนไหลวนเข้าหาอะไรสักอย่างที่มองไม่เห็น นั่นแสดงให้เห็นว่า เราพบหลุมดำเข้าให้แล้ว!
หลุมดำตามข่าวนี้ถูกตรวจพบโดยทีมนักดาราศาสตร์จากญี่ปุ่น โดยสังเกตเห็นกลุ่มแก๊สร้อนที่มีชื่อเรียกทางการว่า HCN-0.009-0.044 (โดยที่มาของชื่อ HCN เชื่อว่ากลุ่มแก๊สมีสารไฮโดรเจนไซยาไนด์อยู่นั่นเอง) อยู่ห่างจากโลกเราเข้าไปหาใจกลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 25,000 ปีแสงกำลังหมุนเข้าหาวัตถุบางอย่างที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก จึงเชื่อว่าน่าจะมีหลุมดำ
Shunya Takekawa หนึ่งในนักวิจัยได้อธิบายว่า
เพื่อพิจารณาจากการไหลวนของแก๊สคาดว่าหลุมดำนี้มีมวลกกว่าดวงอาทิตย์ของเรา 30,000 เท่า แต่มีขนาดเล็กกว่า
©phys.org
หลุมดำ + หลุมดำ = ????
ที่น่าสนใจกว่าการค้นพบหลุมดำมวลขนาดปานกลางนี้ ก็คือ มันอยู่ห่างจากหลุมดำที่มีมวลยิ่งยวด (มวลมาก ๆ ๆ ๆ – Supermassive Black hole) ห่างออกไป 20 ปีแสงแค่นั้น เหมือนกับเป็นพี่ใหญ่ที่รอจะเขมือบหลุมดำน้องเล็ก ซึ่งนักดาราศาสตร์อยากรู้ว่าหลุมดำที่เดิมมวลยิ่งยวดอยู่แล้ว จะสามารถรับมวลจากภายนอกเข้ามาในระบบของมันได้อีกหรือไม่ นั่นอาจทำให้เราได้สายวิวัฒนาการของหลุมดำเพิ่มเติมก็เป็นได้
ทั้งนี้ผลงานวิจัยได้ตีพิมพ์ผ่านวารสาร The Astrophysical Journal Letters เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2019 ในหัวข้อ Indication of Another Intermediate-mass Black Hole in the Galactic Center