ในปี ค.ศ. 2016 หอสังเกตการณ์และการทดลองนามว่า LIGO และ Virgo ตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงและประกาศออกมาอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกัน
การตรวจพบในครั้งนั้นเกิดจากหลุมดำสองแห่งกำลังหลอมรวมกันด้วยความเร่งอันมหาศาล ขณะที่โคจรรอบกันได้สร้างคลื่นกระเพื่อม เรียกว่า “คลื่นความโน้มถ่วง (Gravitational Wave)”
ต่อมามีการตรวจพบการหลอมรวมกันระหว่างดาวนิวตรอนสองแห่ง ซึ่งก็มีมวลมหาศาลเช่นเดียวกันกับหลุมดำ
แต่ยังไม่มีการตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงที่เกิดจากการหลอมรวมกันระหว่าง “หลุมดำ” และ “ดาวนิวตรอน” จนกระทั่งตอนนี้
การตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงS190814bv
S190814bv คือ ชื่อของแหล่งที่ตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วง ตรวจพบเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ที่ผ่านมา จากการโคจรร่วมกันระหว่างหลุมดำและดาวนิวตรอน ซึ่งเชื่อว่าภายหลังหลุมดำจะกลืนกินดาวนิวตรอนถ้าหากดาวนิวตรอนหลุดเข้าไปในขอบฟ้าเหตุการณ์ (Event Horizon)
การตรวจพบดังกล่าวอยู่ห่างออกไปราว ๆ 900 ล้านปีแสง ตรวจพบครั้งแรกเมื่อต้นปี แต่มีระดับความเชื่อมั่นว่าการตรวจพบดังกล่าวแม่นยำเพียง 13% เท่านั้น เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนค่อนข้างมาก จนกระทั่งตอนนี้นักวิจัยเชื่อว่าโอกาสตรวจพบดังกล่าวพุ่งไปที่ 99% และอาจกลายเป็นการตรวจพบทางดาราศาสตร์ที่ไม่เคยตรวจพบที่ไหนมาก่อน
ทั้งนี้ Albert Einstein ได้ทำนายไว้ว่าคลื่นความโน้มถ่วงเกิดจากการโคจรของระบบดาวคู่ (Binary Star) ด้วยความเร่งมหาศาล และทำให้กาลอวกาศเกิดการกระเพื่อมเป็นคลื่นที่ตรวจจับได้ยาก จนกระทั่งหอสังเกตการณ์และการทดลองนามว่า LIGO และ Virgo ตรวจพบครั้งแรกเมื่อหลายปีก่อนจากการโคจรหลอมรวมกันของหลุมดำสองแห่ง
เรียบเรียงโดย Einstein@min
[1] Early Reports Indicate We May Have Detected a Black Hole And Neutron Star Collision. sciencealert, 2019 : https://www.sciencealert.com/we-might-have-just-caught-a-black-hole-in-the-act-of-eating-a-neutron-star
ช่องทางติดตามข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แอพ Blockdit : https://www.blockdit.com/thaiscience
Instagram : https://www.instagram.com/thaisciencenews
Twitter : https://twitter.com/Thaiphys
website : https://www.thaiphysicsteacher.com/