นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวฤกษ์ที่มีชั้นบรรยากาศเป็นออกซิเจน – SDSS J124043.01+671034.68
กลายเป็นเรื่องแปลกสำหรับนักดาราศาสตร์ สำหรับการค้นพบดาวฤกษ์ที่มีชั้นบรรยากาศ 99.99 เปอร์เซนต์เป็นออกซิเจน โดยปกติแล้วดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยกว่าดวงอาทิตย์ของเรา 10 เท่า จะมีวิวัฒนาการเป็นดาวแคระขาว (White Dwarfs) และเมื่อมันยุบตัวลงด้วยแรงโน้มถ่วงของตัวเองจะทำให้เกิดธาตุหนักบริเวณใจกลางของดาว เช่น ออกซิเจน เป็นต้น และธาตุเบาจะอยู่บริเวณพื้นผิวและชั้นบรรยากาศภายนอก เช่น ฮีเลียมและไฮโดรเจน
แต่สำหรับดาวฤกษ์ที่มีรหัสชื่อเรียกเฉพาะว่า SDSS J124043.01+671034.68 กลับทำลายกฏเกณฑ์ที่นักดาราศาสตร์สันนิษฐานไว้เกือบทั้งหมด เพราะชั้นบรรยากาศของมันส่วนใหญ่เป็นออกซิเจน นักดาราศาสตร์เชื่อว่าเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากมันเป็นดาวแคระขาวที่มีอายุมาก และธาตุเบาอย่างฮีเลียมและไฮโดรเจนถ่ายโอนสู่อวกาศตลอดช่วงชีวิตของมันจนแทบไม่เหลือ
และความน่าจะเป็นที่เราจะพบดาวแคระขาวที่มีชั้นบรรยากาศส่วนใหญ่เป็นออกซิเจนอยู่ที่ 1 ใน 32,000 ดวง
Original Article and More Detail & Media
“Astronomers have discovered the first star with an almost pure oxygen atmosphere.“. [Online]. via : ScienceAlert 2016.