เป็นเวลานานหลายปีที่สถาบัน SETI ได้ตรวจหาสัญญาณที่มีรูปแบบเฉพาะจากมนุษย์ต่างดาว ถึงเวลาแล้วที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ไม่ยอมที่ค้นหาสัญญาณจากสิ่งมีชีวิตนอกโลก แต่จะเริ่มเข้าไปทักทายก่อนบ้าง
สถาบัน SETI หรือ Search for Extra-Terrestrial Intelligence แปลเป็นไทยได้ว่า “สถาบันค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาจากต่างดาว” แน่นอนว่าเป้าหมายของโครงการคือหาสัญญาณจากมนุษย์ต่างดาว อาจจะมาในรูปของเทคโนโลยีคล้ายหรือสูงกว่าเรา เช่น การส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุ, ไมโครเวฟ หรือแสงความเข้มสูงอย่างเลเซอร์ เป็นต้น ตัวโครงการก่อนหน้าได้รับเงินทุนจากรัฐบาล แต่เห็นว่าไม่มีประโยชน์หรือความคืบหน้าใดๆ ภายหลังเงินที่ได้จึงมาจากเอกชนเสียส่วนใหญ่
นักวิทยาศาสตร์ในโครงการเริ่มเห็นพ้องต้องกันว่า เราคงรอให้ใครมาทักทายเราก่อนไม่ได้ จึงคิดโครงการว่าภายในสิ้นปี 2018 จะเริ่มส่งข้อความทักทายไปก่อนบ้าง
โครงการนี้สนใจดาวเคราะห์หินที่โคจรรอบดาวฤกษ์ Proxima Centauri เนื่องจากเป็นระบบดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ของเรามากที่สุด แค่ 4.3 ปีแสงเท่านั้น (ประมาณ 40 ล้านล้านกิโลเมตร) ถ้าด้วยเทคโนโลยียานอวกาศในปัจจุบันของมนุษย์ จะใช้เวลาเดินทางนานหลายร้อยปี
หลายท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้คงคิดว่า อยู่ดีๆเราจะทักทายมนุษย์ต่างดาวก่อนทำไม เขาจะไม่แห่มายึดครองดาวโลกของเราเหมือนในหนังหรอกหรือ Mark Buchanan นักฟิสิกส์ได้เขียนแนวคิดเกี่ยวกับการค้นหาสัญญาณของมนุษย์ต่างดาวจากนอกโลกผ่านนิตยสารออนไลน์ Nature ในหัวข้อ “Searching for trouble?” (แปลแบบดิบๆได้ว่า “หาเรื่องใส่ตัว หรอ?”) นอกจากนี้เขายังกล่าวเพิ่มอีกว่า “We have almost zero idea of whether aliens are likely to be dangerous,” แปลว่า “เราก็รู้พอๆกับไม่รู้ว่าเอเลี่ยนจะเป็นอันตรายกับเราไหม”
ก่อนหน้านี้นักฟิสิกส์ชื่อดังของโลกอย่าง สตีเฟ่น ฮอว์คิง ก็ออกมาเตือนว่า มนุษย์ต่างดาวอาจพยายามค้นหาเราเช่นกัน ตัวเขาเองกังวลว่าการค้นหานั้นดีหรือไม่ แต่ในขณะเดียวกันถ้าไม่ค้นหา เราก็อาจจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบได้เช่นกัน
“ถ้าเราต้องการจะเริ่มแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทั้งหลายแหล่กับใคร เราก็ต้องเรียนรู้และแชร์ข้อมูลสารสนเทศของกันและกัน” Douglas Vakoch ผู้นำสถาบัน SETI กล่าวเน้นย้ำความสำคัญของโครงการว่าแค่ต้องการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับสิ่งมีชีวิตนอกโลก
Read Original Article and More Detail & Media
“Scientists plan to send greetings to other worlds.”. [Online]. via : phys.org 2016.