Uranium Cube อย่างกับ Tesseract ใน Avengers เลยแหะ ส่วนนักฟิสิกส์เยอรมันที่แอบพัฒนามัน ก็เหมือนกับ ดร.โซล่า O.o
ในช่วงหน้าร้อนปี 2013 นักฟิสิกส์ Timothy Koeth เห็นกล่องพัสดุกล่องหนึ่งตกแถวลานจอดรถ ภายในกล่องที่เต็มไปด้วยผ้าขนหนู และเศษกระดาษ เขาพบว่ามีก้อนลูกบาศก์ยูเรเนียมขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร พร้อมกับโน้ตสั้น ๆ แปะไว้ว่า
…นำมาจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของฮิตเลอร์….
ของขวัญจาก Ninninger
เรื่องนี้ทำให้ Timothy ต้องขยายว่า Uranium Cube มาจากไหน ถูกขโมยมาจากเตาปฏิกรณ์ที่ฮิตเลอร์พยายามจะพัฒนาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จริงหรือไม่ (แต่คงไม่เกี่ยวกับขบวนการ Ninninger นะ แอดมินคิดว่างั้น 555)
ย้อนอดีต
ก่อนที่จะไปในรายละเอียดการสืบหา แอดมินขอเท้าความก่อนว่าในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากฝ่ายสัมพันธมิตรจะพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับธาตุกัมมันตรังสีอย่างยูเรเนียมแล้ว ฝ่ายอักษะ อย่างเยอรมันก็แอบซุ่มพัฒนาเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์อีกเช่นกัน
หนึ่งในสถานที่พัฒนาเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ภายหลังทหารฝ่ายสัมพันธมิตรตรวจพบก็คือ Oranienburg Plant ตั้งชื่อตามเมืองแห่งหนึ่งในเยอรมัน
เป็นโรงงานผลิตยูเรเนียมในรูปแผ่น (Sheets) และลูกบาศก์ (Cube) และเครื่องจักรที่จะใช้ยูเรเนียมเป็นแหล่งสร้างพลังงาน หรือการทดสอบต่าง ๆ ถูกเรียกว่า “Uranmaschine” หรือยูเรเนียมแมกชีน ภายหลังเราเรียกด้วยคำว่า “Nuclear Reactor” แทน
หนึ่งในโครงการทดลองที่มักพูดถึงก็คือ G-1 Experiment นำโดยนักฟิสิกส์นาซี Kurt Diebner ซึ่งผลผลิตของโรงงานนี้สามารถสร้าง Uranium Oxide Cube ได้มากถึง 25 ตัน!!!
ข้อสงสัยเกี่ยวกับลูกบาศก์ยูเรเนียม
กลับมายังปัจจุบันนักฟิสิกส์ Timothy กล่าวว่า
ทันทีที่ผมเห็นลูกบาศก์ ผมก็รู้ได้ทันทีว่ามันคืออะไร ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นักวิทยาศาสตร์เยอรมันพยายามจะสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ซึ่งมี Uranium Cube มากกว่า 600 ชิ้นเลยทีเดียว แต่ภายหลังถูกยึดโดยกองกำลังจากฝ่ายสัมพันธมิตร และถูกส่งมายังอเมริกา
มีหลายคนสงสัยว่า Uranium Cube นี้อาจเป็นของปลอม แต่ Timothy กล่าวว่าลักษณะของลูกบาศก์แสดงถึงกรรมวิธีในการผลิตในสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี เพราะในสมัยนั้น Uranium Cube ที่ผลิตได้จะมีรู หรือร่องรอยของฟองอากาศอย่างเห็นได้ชัด
ส่วนชื่อเจ้าของโน้ต Ninninger Timothy สันนิษฐานว่าอาจเป็นการเขียนที่สะกดผิด เพราะอาจเป็นชื่อสกุลของ Robert Nininger ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างระเบิดปรมาณูในโครงการ Manhattan ของสหรัฐหรือไม่
ภายหลังภรรยาของ Nininger ยืนยันว่าครั้งหนึ่ง สามีของตัวเองเคยเป็นเจ้าของก้อนยูเรเนียม แต่มอบให้กับเพื่อนไปแล้ว Uranium Cube เปลี่ยนมือเจ้าของไปเรื่อย ๆ ก่อนที่มันจะมาตกอยู่ในมือของเขา
หลายคนกังวลเกี่ยวกับรังสี แต่ Timothy กล่าวว่ามันปล่อยออกมาในระดับต่ำปลอดภัยพอที่จะถือด้วยมือได้
เกี่ยวกับการพัฒนา Uranium Cube ของเยอรมัน
ปัจจุบันยูเรเนียมที่ใช้สำหรับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถูกเสริมสมรรถนะ และควบคุมให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ได้ดียิ่งขึ้น โดยการทำให้มันมีหลาย isotope ได้แก่ Uranium (232, 233, 234, 235, 236 และ 238) ซึ่งแต่ละ isotope ก็จะไวต่อปฏิกิริยาต่างกัน
แต่ยูเรเนียมที่เยอรมันกำลังพัฒนาในสมัยนั้น กลับใช้ยูเรเนียมที่มีเอกลักษณ์ หรือพบได้ในธรรมชาติ ไม่ได้รับการเสริมสมรรถนะ
เพื่อพิสูจน์ว่าเป็น Uranium Cube ของเยอรมันตามข้อมูลประวัติศาสตร์ Timothy และนักวัสดุศาสตร์ Miriam Hiebert ได้ทดลองวัดรังสีแกมม่า พบว่ามันอยู่ในระดับเดียวกับที่พบได้ในธรรมชาติ และนั่นเท่ากับว่า Uranium Cube จากโรงงานสักแห่งของเยอรมันเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จริง
“Uranium Cube ของเยอรมันปลดปล่อยรังสี = ที่พบได้ในธรรมชาติ
“Uranium Cube ของ Timothyปลดปล่อยรังสี = พบได้ในธรรมชาติ”
ดังนั้น Uranium Cube นี้มีโอกาสสูงที่จะเป็นหนึ่งในผลผลิตจากโรงงานผลิตยูเรเนียมของเยอรมันในอดีต
ตรวจสอบให้ลึกยิ่งขึ้นไปอีก
เมื่อตรวจสอบธาตุหนักที่เกิดขึ้นหลังการสลายยูเรเนียมบางส่วนในลูกบาศก์ ไม่พบธาตุไอโซโทป ซีเซียม – 137 แสดงว่าลูกบาศก์นี้ยังไม่ถูกใช้งาน
ในอนาคต Timothy อาจจะส่งลูกบาศก์นี้ให้กับพิพิทธภัณฑ์ แต่ตอนนี้เขาได้นำมันใส่กล่องอย่างดี และเก็บไว้เป็น Collection ส่วนตัว (พี่แกคงคิดว่าตัวเองเป็น The Collector ไม่ก็ Thanos แน่ ๆ) เพราะตอนนี้เขาก็มี
- แท่ง Graphite ซึ่งได้มาจากการทดลองเตาปฏิกรณ์ที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกจากมหาวิทยาลัย Chicago
- แก้วสีเขียว (Greenish Glass) จากผืนทรายที่หลอมละลายจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ หรือรู้จักในชื่อ “เครื่องแก้ว Vaseline” ซึ่งจะเรืองแสงเมื่อได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต
- และสด ๆ ร้อน ๆ ก็คือ Uranium Cube
พี่ Timothy กล่าวอย่างเท่ ๆ ปิดท้ายว่า
has the ability to save us and to totally destroy us. And that little cube represents all of that.
ของพวกนี้มีความสามารถที่จะช่วยเหลือ หรือแม้กระทั่งทำลายล้างเราได้
เอาเป็นว่าพี่อย่าดีดนิ้วพอ
เรียบเรียงโดย Einstein@min
Source :
[1] : How scientists traced a uranium cube to Nazi Germany’s nuclear reactor program, sciencenews.org, 2019
[2] : Searching for lost WWII-era uranium cubes from Germany, phys.org, 2019
[3] : German nuclear weapons program, wikipedia.org, 2019
[4] : Haigerloch Nuclear Pile, wikipedia.org, 2019