Kepler ยานสำรวจอวกาศของ NASA หยุดทำงานแล้ว เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2018 ที่ผ่านมา ช่วยสำรวจดวงดาวใหม่หลายพันดวงตลอดระยะเวลาเกือบสิบปี
NASA ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่ายานสำรวจอวกาศ Kepler ได้มาถึงจุดสิ้นสุดการทำงานตามอายุการใช้งานของมัน หรือประมาณ 9 ปีกับอีก 6 เดือนเศษ ด้วยเหตุผลด้านเชื้อเพลิงที่เหลือในระดับน้อยมาก
ฝากผลงานในการค้นหาดวงดาวที่อยู่อันไกลโพ้น รวมทั้งหาความเป็นไปได้ที่จะมีดาวที่อาจมีสิ่งมีชีวิต หรือเอื้อต่อการดำรงชีวิต แม้ในขณะช่วงระยะเวลาสุดท้ายก่อนที่เชื้อเพลิงจะหมดอย่างถาวร
William Borucki หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ของ NASA กล่าวว่า
ยานสำรวจอวกาศ Kepler ช่วยเปิดประตูสู่การสำรวจข้ามดวงดาวของมนุษยชาติเรา
ผลงานของยานสำรวจอวกาศ Kepler
- ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มีศักยภาพพอที่สิ่งมีชีวิตจะอยู่อาศัยได้ถึง 2,681 ดวง จากการสำรวจทั้งหมดประมาณ 4,000 ดวง (ยาน Kepler สร้างผลงานมากถึง 2 ใน 3 ของผลการสำรวจทั้งหมด)
ข้อมูลจากยานได้แสดงถึงความเป็นไปได้ที่จะมีดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลก หรือใหญ่กว่าเล็กน้อย แต่ไม่เกินขนาดของดาวเนปจูน ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต
นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ Paul Hertz หนึ่งในทีมกล่าวว่า
ทุก ๆ 2 ใน 12 ดวงดาวที่ยานสำรวจอวกาศ Kepler ค้นพบ จะเป็นดาวเคราะห์หินขนาดเท่าโลกจะอยู่ห่างจากดาวฤกษ์ของมันในโซนที่เรียกว่า “Goldilocks” — บริเวณที่เอื้อต่อการดำรงชีพ และหากมองในภาพรวมทั้งท้องฟ้าในยามค่ำคืน ดวงดาวที่เรามองเห็น 20 – 50% ของพื้นที่ท้องฟ้าอาจมีดาวเคราะห์บริวารที่ตั้งอยู่ในโซนดังกล่าว
700 ล้านเหรียญกับสำรวจกาแล็กซีทางช้างเผือกและระบบสุริยะ
ในปี 2013 ตัวยานมีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์บางส่วน แต่ทีมวิศวกรก็ได้แก้ไขจนสามารถกลับมาทำงานได้ใหม่อีกครั้ง และเริ่มการสำรวจในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราเอง รวมถึงระบบสุริยะของเราในช่วงปีหลัง
การสำรวจของยาน Kepler จะเน้นที่ระยะห่างตั้งแต่ 1 ปีแสงเป็นต้นไป และนำมาสู่สถิติที่น่าสนใจเช่น
ทุก ๆ ดาวฤกษ์ 1 ดวงในกาแล็กซีทางช้างเผือก จะมีดาวเคราะห์บริวารอย่างน้อย 1 ดวงโคจรล้อมรอบ
นี่แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่แค่ระบบสุริยะของเราเท่านั้น ที่ดวงอาทิตย์จะมีดาวเคราะห์บริวารโคจรล้อมรอบ
Borucki ได้กล่าวถึงภารกิจในช่วงแรกเริ่มหรือย้อนไป 10 ปีก่อนว่า หรือวันที่ 5 ธันวาคม ปี 2011 มันเป็นหนึ่งการค้นพบที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเขารวมถึงยาน Kepler ก็คือ
การค้นพบดาวเคราะห์ Kepler 22b ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่ได้รับการยืนยันว่าอยู่ภายนอกระบบสุริยะ — เดิมเราเชื่อว่าดาวฤกษ์ดวงอื่นอาจมีหรือไม่มีดาวเคราะห์บริวารเหมือนดวงอาทิตย์ของเรา
ทั้งนี้ยานสำรวจอวกาศ Kepler ได้ส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 7 มีนาคม 2009 และเครื่องยนต์ได้ดับลงเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา ณ ตอนนี้มันอยู่ห่างจากโลกไป 94 ล้านไมล์ บริเวณที่ปลอดภัย หรือวงโคจรเสถียรรอบดวงอาทิตย์ หลังจากนั้นฝ่ายควบคุมยาน (Flight Controllers) จะปิดระบบสื่อสารกับยาน และปล่อยมันสู่ห้วงอวกาศ
ส่วนกล้องโทรทรรศน์อวกาศสองตัวที่หลายคนเป็นห่วงได้แก่ Hubble – อายุ 28 ปี และ Chandra – อายุ 19 ปี ที่มีปัญหาด้าน Gyroscope ณ ตอนนี้ทีม NASA ได้แก้จนกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
ทั้งนี้ผู้อ่านสามารถติดตามหรือค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Kepler Mission ได้ที่ Digital press kit – Kepler Planet Bonanza