หลังจากปฏิบัติภารกิจมา 6,000 กว่าวัน กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope) ช่วยเปิดมุมมองใหม่ ๆ ในอวกาศให้กับเรา
สปิตเซอร์เป็นกล้องโทรทรรศน์อินฟราเรดปฏิบัติการโดยหน่วยงานดังอย่าง NASA และความร่วมมือจากอีกสองหน่วยงานได้แก่ JPL และ Caltech โดยเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม ปี ค.ศ. 2003
- ระยะเวลาภารกิจที่วางแผนไว้ : 2.5 – 5 ปี
- ดำเนินการจริง : 16 ปี 5 เดือน กับอีก 6 วัน
สปิตเซอร์เป็นยานสำรวจอวกาศที่มีกล้องโทรทรรศน์ชนิดอินฟราเรดติดตั้งอยู่ ปฏิบัติการโดยหน่วยงานดังอย่าง NASA และความร่วมมือจากอีกสองหน่วยงานได้แก่ JPL และ Caltech โดยเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม ปี ค.ศ. 2003
มีวงโคจรที่แปลกไม่เหมือนใคร
ปกติกล้องโทรทรรศน์อวกาศมักจะมีวงโคจรแบบ Geocentric orbit – โคจรรอบโลก แต่กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์จะมีวงโคจรวรอบดวงอาทิตย์ และวิ่งตามโลกไปพร้อม ๆ กัน เรียกว่า Heliocentric หรือ Earth-trailing
ผลงานที่สำคัญของสปิตเซอร์
1. ในปี ค.ศ. 2003 หลังขึ้นวงโคจรไปได้ไม่นานก็ส่งภาพกาแล็กซี M81 ที่อยู่ทางเหนือของกลุ่มดาวหมีใหญ่มาให้โลกยลโฉม
2. นักล่าดาวเคราะห์ (Planet Hunter)
ถึงแม้จะเป็นยานสำรวจอวกาศที่อายุมาก แต่ก็ยังเก๋าใช้งานได้ดี โดยในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม ปี ค.ศ. 2016 สปิตเซอร์ค้นพบดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลก (Earth-size) ถึง 7 ดวงในระบบดาวฤกษ์ TRAPPIST-1 โดยใช้เทคนิค Transit method หรือการวิเคราะห์การแปรแสงเมื่อดาวเคราะห์วิ่งผ่านหน้าดาวฤกษ์ ทำให้ทราบขนาด มวล หรือความหนาแน่นของดาวเคราะห์อย่างคร่าว ๆ ได้
ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จากสปิตเซอร์ทำให้ทราบว่ามีดาวเคราะห์ 3 ดวงตั้งอยู่ในเขตอาศัยได้ (Habitable Zone) – เป็นบริเวณหนึ่งในอวกาศที่อยู่ห่างจากดาวฤกษ์ที่น้ำสามารถคงสถานะของเหลวบนพื้นผิวได้ หรือมีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาพพื้นผิวบนโลก
นั่นทำให้กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์โด่งดัง และตั้งแต่นั้นมาภารกิจในช่วงท้ายของปี นักวิทยาศาสตร์ที่ดูแลและควบคุมสปิตเซอร์ก็พุ่งเป้าการสำรวจไปยังระบบดาวฤกษ์ TRAPPIT-1 เป็นส่วนใหญ่ โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 มีข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากการสำรวจ TRAPPIT-1 มากกว่า 1,000 ชั่วโมง และให้เข้าถึงได้โดยสาธาณะผ่าน Spitzer Data archive
Michael Werner หนึ่งในทีมนักวิทยาศาสตร์จากโครงการสปิตเซอร์กล่าวว่า
“ผมคิดว่าเจ้าสปิตเซอร์เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดที่มนุษยชาติเราทำได้ ตัวผมเองรู้สึกโชคดีมากที่ได้ทำงานในภารกิจนี้ ได้เห็นความเฉลียวฉลาด ความมุ่งมั่นของคนในทีม หากคุณได้มีโอกาสแตะเหล่าเครื่องมือควบคุมพวกนั้น คุณจะรู้สึกได้ถึงอำนาจของผู้คนที่สามารถควบคุมอุปกรณ์อย่างเจ้าสปิตเซอร์ และนำไปสู่การค้นพบสิ่งที่ไม่น่าเชื่อ”
กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ได้สิ้นสุดภารกิจ ณ วันที่ 30 มกราคม 2020 โดยเข้าสู่สถานะ safe mode และปล่อยให้โคจรตามโลกเราไปตลอดกาล
เรียบเรียงโดย Einstein@min | thaiphysicsteacher.com
Sources:
[1] NASA’s Spitzer Space Telescope Ends Mission of Astronomical Discovery. NASA.gov , 2020 : https://www.nasa.gov/press-release/nasa-s-spitzer-space-telescope-ends-mission-of-astronomical-discovery
[2] Largest batch of Earth-size, habitable zone planets. exoplanets.nasa, 2020 : https://exoplanets.nasa.gov/trappist1/
[3] Spiral Galaxy Messier 81. spitzer.caltech, 2020 : http://www.spitzer.caltech.edu/images/1072-ssc2003-06c1-Spiral-Galaxy-Messier-81
[4] Lyman Spitzer. wiki, 2020 : https://en.wikipedia.org/wiki/Lyman_Spitzer
[5] TRAPPIST-1. wiki, 2020 : https://en.wikipedia.org/wiki/TRAPPIST-1
[6] Spitzer Space Telescope. wiki, 2020 : https://en.wikipedia.org/wiki/Spitzer_Space_Telescope#Spitzer_Beyond
ติดตามผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
แอพ Blockdit : https://www.blockdit.com/thaiscience
Instagram : https://www.instagram.com/thaisciencenews
Twitter : https://twitter.com/Thaiphys
Website : https://www.thaiphysicsteacher.com/