สองนักวิจัย Jose Noguera และ Alberto Velando จากมหาวิทยาลัย Vigo ประเทศสเปนทดลองเก็บไข่นกนางนวลมาฟักในห้องปฏิบัติการพบว่าไข่สามารถรับรู้การตอบสนองของแรงสั่นสะเทือนได้
นักวิจัยทั้งสองได้เก็บตัวอย่างไข่ประมาณ 90 ฟอง จากแนวชายทะเลของเกาะ Sálvora และนำกลับมาแยกออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกันใส่แยกไว้ในตู้ฟักไข่ จากนั้นหยิบไข่จำนวน 2 ใน 3 ของแต่ละตู้มาเปิดเสียงร้องเตือนของพ่อแม่นกนางนวลให้ฟังวันละ 4 ครั้ง ผลที่เกิดขึ้นก็คือ
- ไข่ที่ได้รับเสียงร้องเตือนจะใช้เวลาฟักออกมานานกว่า (อารมณ์ประมาณกลัวสิ่งแวดล้อมภายนอก ไม่ฟักละกัน)
- นอกจากนี้ลูกนกที่เกิดมาจากไข่ที่ได้รับสัญญาณร้องเตือน จะมีพฤติกรรมสงบ ไม่ส่งเสียงร้องมากเท่าลูกไก่ที่ฟักในสภาวะปกติ (กลุ่ม 1 ใน 3 ที่เหลือที่ไม่ได้รับสัญญาณเตือน)
- ร่างกายโดยรวมของลูกนกที่ฟักจากไข่ที่ได้รับสัญญาณเตือนมีขนาดเล็กกว่า ขาสั้นกว่าปกติ
และที่น่าสนใจก็คือ ตอนที่นำไข่ 2 ใน 3 ที่ได้รับสัญญาณเตือนไปไว้ในรวมกลุ่มกับ 1 ใน 3 ที่เหลือนั้น (แต่ไม่คืนทุกกลุ่มเพื่อเหลือกลุ่มไว้เทียบเคียง) ไข่ข้างเคียงเหมือนจะได้รับสัญญาณเตือนจากไข่ที่ได้รับสัญญาณเตือนอีกด้วย ราวกลับว่ามันส่งสัญญาณเตือนกันและกัน เพราะสุดท้ายฟักออกมาในเวลาไล่เลี่ยกัน
Sources:
[1] Bird embryos perceive vibratory cues of predation risk from clutch mates. nature.com, 2019
[2] Bird embryos respond to adult warning calls inside their shells. phys.org, 2019