เราได้เริ่มเฉลิมฉลองวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1970 หลังวุฒิสภาสหรัฐอเมริกานามว่า Gaylord Nelson ได้เสนอว่าควรมีสักวันหนึ่งที่เราควรตระหนักถึงโลกของเรา
วันคุ้มครองโลกได้เป็นกระแสมากขึ้นหลัง Gaylord ได้เดินสายประชาสัมพันธ์ให้กับผู้คนระดับรากหญ้า เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม จนกระทั่งเรื่องวันคุ้มครองโลกได้ยื่นเข้าเสนอในที่ประชุมสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1969
ธงสัญลักษณ์วันคุ้มครองโลก
ปี ค.ศ. 1969 หรือ 1 ปีก่อนวันกำหนดวันคุ้มครองโลก นักกิจกรรมสันติภาพนามว่า John McConnell ได้เสนอธงสัญลักษณ์วันคุ้มครองโลก โดยเขาได้นำภาพโลกจากนาซ่ามาวางบนพื้นหลังสีม่วง นอกจากนี้เขายังได้เสนอว่าควรกำหนดวันที่ 21 มีนาคม ให้เป็นวันคุ้มครองโลก เพราะเนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันแรกของฤดูใบไม้ผลิในซีกโลกเหนือ แต่ในท้ายที่สุดก็เปลี่ยนวันเป็นวันที่ 22 เมษายน ของทุกปีแทน
ผลกระทบต่อ ๆ มา
ภายหลัง Gaylord Nelson ได้รับเหรียญอิสรภาพประธานาธิบดี (Presidential Medal of Freedom) ซึ่งมอบให้กับ “ผู้ที่อุทิศตนในการสร้างความั่นคงและสนับสนุนผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกา, สันติสุขของโลก, วัฒนธรรม และ งานอื่นๆ ทั้งของสาธารณชนและส่วนบุคคลที่มีความสำคัญ” บุคคลอื่นๆที่ได้รับเหรียญนี้ เช่น มาร์กาเรต ฮามิลตัน (Margaret Hamilton) ผู้หญิงผู้อยู่เบื้องหลังซอฟแวร์ระบบนำทางอะพอลโล 11 เป็นต้น
ในเดือนมีนาคมเมื่อปี 2016 ประเทศต่างๆได้มีการลงนามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) นำโดยสหรัฐอเมริกา จีน และอีก 120 ประเทศ การลงนามครั้งนี้มีใจความสำคัญเกี่ยวกับการบังคับใช้สนธิสัญญาการป้องกันสภาพภูมิอากาศฉบับใหม่
Read Original Article and More Detail & Media
“Earth Day.“. [Online]. via : wiki 2017.
“วันคุ้มครองโลก.“. [Online]. via : วิกิ 2017.