ดาวเคราะห์ NGTS-10b โคจรรอบดาวฤกษ์ของมันโดยใช้เวลาเพียง 18 ชั่วโมงเท่านั้น
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานักดาราศาสตร์จากหอสังเกตการณ์ Next – Generation Transit Survey หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “NGTS” โดยมีที่ทำการอยู่ที่ทะเลทราย Atacama ตอนเหนือของประเทศชิลี ได้ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบ หรือ Exoplanet นามว่า “NGTS-10b” (เอาชื่อที่ทำงานมาใช้สร้างชื่อดาวเคราะห์นอกระบบ)
โดยดาวเคราะห์ NGTS-10b โคจรรอบดาวฤกษ์ NGTS-10 ซึ่งมีมวลประมาณ 0.7 เท่าของดวงอาทิตย์ของเรา ความน่าสนใจอยู่ที่ดาวเคราะห์ NGTS-10b มีคาบโคจรรอบ NGTS-10 เพียง 18 ชั่วโมงเท่านั้น (Ultrashort period) หรือกินระยะเวลาสั้นกว่าที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ประมาณ 6 ชั่วโมง และอยู่ใกล้กับดาวฤกษ์ของมันสั้นกว่าที่ดาวพุธของเราอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ 27 เท่า
ค้นพบ NGTS-10b ได้อย่างไร
นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบอย่าง NGTS-10b ที่อยู่ห่างจากโลกระดับ 1,000 ปีแสงนี้ได้ โดยอาศัยการวัดการแปรค่าความสว่างของดาวฤกษ์ของมัน (Transit Method) หากมีการแปรค่าความสว่างเป็นรอบซ้ำ ทำให้เชื่อได้ว่ามีดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์อย่างไม่ต้องสงสัย
ทั้งนี้นักดาราศาสตร์เชื่อว่าการโคจรรอบดาวฤกษ์ของดาวเคราะห์นอกระบบ NGTS-10b อาจช่วยให้เราไขข้อสงสัยได้ว่าวาระสุดท้ายของดาวเคราะห์อาจโคจรไหลวนเข้าหาดาวฤกษ์ได้หรือไม่
เรียบเรียงโดย Einstein@min
Sources:
[1] NGTS-10b: the shortest period hot Jupiter yet discovered. academic.oup.com, 2020 :
[2] Planet NGTS-10 b. exoplanet.eu, 2020 : http://exoplanet.eu/catalog/ngts-10_b/
[3] Transit Method. wiki, : https://en.wikipedia.org/wiki/Methods_of_detecting_exoplanets#Transit_photometry
[4] Eighteen-hour-year planet on edge of destruction. phys.org, : https://phys.org/news/2020-02-eighteen-hour-year-planet-edge-destruction.html
ติดตามผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
แอพ Blockdit : https://www.blockdit.com/thaiscience
Instagram : https://www.instagram.com/thaisciencenews
Twitter : https://twitter.com/Thaiphys