ไวรัสยักษ์ หรือ Giant Virus หรือมักเรียกกันว่า “Girus” (ผสมคำ) เป็นไวรัสขนาดใหญ่ บางตัวมีขนาดใหญ่กว่าแบคทีเรีย เนื่องจากมีขนาดของ Nucleocytoplasma ขนาดใหญ่ ประกอบไปด้วย Genomes ที่ใหญ่มากกว่าไวรัสชนิดอื่น ๆ อีกทั้งมักมี Genes ที่ไม่สามารถพบได้ที่ไหนจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
ข่าวเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่พบใต้ทะเลลึกทำให้เราตะลึงอยู่บ่อย ๆ อย่างการค้นพบ Girus ที่มีเอนไซม์ Cytochrome P450 โดยนักวิจัยจาก สถาบัน Woods Hole Oceanographic ร่วมกับมหาวิทยาลัยการแพทย์ Swansea
John Stegeman นักชีววิทยาและนักวิจัยอาวุโสกล่าวว่า
เป็นการค้นพบที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ปกติเอนไซม์ P450 พบได้ในสัตว์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ แต่ไม่เคยมีรายงานว่าเอนไซม์นี้ได้ใน Girus
ปกติเอนไซม์ P450 จากสัตว์เรามักนำมาทำตัวยาเร่งการเผาผลาญ สารสเตียรอยด์ หรือป้องกันร่างกายจากมลพิษ แต่เอนไซม์ P450 จาก Girus อาจมีโครงสร้างพิเศษที่อาจมองข้ามไป การศึกษาเอนไซม์ดังกล่าวอาจช่วยทำความเข้าใจผลกระทบทางเคมีใต้ท้องทะเลที่มีผลต่อไวรัส รวมถึงกระบวนการเกิดโรคในมนุษย์ได้ในอนาคต
ความหวังในการสร้างระบบต้านโรคในมนุษย์
ปัจจุบันเรารู้ว่าไวรัสบางตัวมีจุดเชื่อมโยงกับโรคปอดบวม หากเราทำความเข้าใจ Girus นี้ได้ ก็เป็นความหวังและแนวทางใหม่ในการป้องกันและรักษาโรคนี้ได้
David Lamb หนึ่งในนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยการแพทย์ Swansea กล่าว
นอกจากความหวังในแง่การรักษาโรคในมนุษย์โดยการพัฒนาเอนไซม์ P450 จาก Girus แล้ว ก็เปิดโลกใหม่ในทางชีววิทยาสำหรับการศึกษาเข้าใจและที่มาของตัว Girus เองอีกด้วย เพราะข้อมูลเกี่ยวกับมันมีน้อยมากในปัจจุบัน
ในปี 2003 ไวรัสยักษ์ หรือ Girus เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น หลังมีคนพบมันผ่านกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง มี Genes ที่ระบุได้ประมาณ 1,000 Genes (จากทั้งหมด 8,000 Genes) หากเปรียบเทียบไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) จะมีแค่ 14 Genes เท่านั้น
และ Girus มักมีถิ่นที่อยู่ในมหาสมุทร ณ ก้นทะเลลึก
Source:
[1] : On the occurrence of cytochrome P450 in viruses., pnas.org., 2019
[2] : Surprising enzymes found in giant ocean viruses., phys.org., 2019
[3] : Giant Virus., wikipedia.org, 2019