ลึกลงไปประมาณ 11,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก คือที่อยู่ของแบคทีเรียที่สามารถกินน้ำมันเป็นอาหารได้
บริเวณร่องลึกก้นมหาสมุทรดังกล่าวมีชื่อว่า Mariana ณ ชั้นระดับน้ำทะเลนี้มีบริวเณที่เรียกว่า “Hadal Zone” ซึ่งมากกว่าปกติเมื่อเทียบกับพื้นทะเลรอบๆ ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย East Anglia รวมทั้งทีมจากรัสเซียและจีน มีความสนใจที่จะศึกษาและวิเคราะห์ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กว่าสามารถอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีแรงดันจากน้ำสูงและอุณหภูมิต่ำได้อย่างไร หนึ่งในเรื่องที่ค้นพบคือ แบคทีเรียบางชนิดอยู่รอดได้ด้วยการกินน้ำมัน (สารไฮโดรคาร์บอน) เป็นอาหาร
Professor Xiao-Hua Zhang ผู้นำการสำรวจจากมหาวิทยาลัย Ocean จากจีนกล่าวว่า
ณ ผิวพื้นของร่องลึกก้นมหาสมุทรนักวิทยาศาสตร์พบว่ามีส่วนประกอบของสารไฮโดรคาร์บอนอยู่แพร่หลาย ส่วนใหญ่สารไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้จะเป็นส่วนประกอบของเชื้อเพลิงดีเซล พบได้ในสาหร่าย (Algae) ที่ผิวมหาสมุทร แต่ไม่เคยพบอยู่ร่วมกับแบคทีเรียที่ระดับความลึกเช่นนี้
เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการดำรงชีพแบบปกติ เหมือนกับแบคทีเรียที่ผิวโลกของเรา แบคทีเรียเหล่านี้จึงปรับตัวให้อยู่รอดมาเป็นเวลานานภายใต้แรงดันน้ำที่สูงมหาศาล และกินน้ำมัน หรือสารไฮโดรคาร์บอนเป็นอาหารหลักเพื่อความอยู่รอด
แบคทีเรียที่ค้นพบนี้มีศักยภาพในการย่อยสลายน้ำมันในธรรมชาติได้ หรือมีส่วนช่วยในการลดปริมาณน้ำมันรั่วไหลของแหล่งจ่ายน้ำมันในอ่าว Mexico ปี 2010 อีกด้วย
การสำรวจก้นทะเลลึกมีเพียงไม่กี่คนที่ทำได้ หนึ่งในนั้นคือ การสำรวจโดยใช้เรือดำน้ำขนาดเล็กของนาย James Cameron ผู้กำกับหนังชื่อดังอย่าง Avatar ซึ่งมีความสนใจเป็นอย่างมากในการเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตจากร่องลึกก้นมหาสมุทร
Source:
[1] : Unique oil eating bacteria found in world’s deepest ocean trench , Microbiomejournal, 2019
[2] : Proliferation of hydrocarbon-degrading microbes at the bottom of the Mariana Trench : UAE, 2019
[3] : Hadal zone: Wiki, 2019
No Responses