ขณะที่ดาวเคราะห์ WASP-107b โคจรผ่านหน้าดาวฤกษ์ชนิด K-Type ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถตรวจจับได้ว่าชั้นบรรยากาศของมันมีแก๊ส Helium เป็นองค์ประกอบ
นักวิจัยนำโดย Jessica Spake จากมหาวิทยาลัย Exeter ร่วมกับ ESA และ NASA ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble สำรวจดาวเคราะห์ต่างระบบ (Exoplanet) ดวงหนึ่งชื่อว่า WASP-107b ตั้งอยู่ในกลุ่มจักรราศี Virgo มันมีขนาดใหญ่กว่าดาวเนปจูนของเรา
งานวิจัยถูกตีพิมพ์ในวารสาร Nature ในหัวข้อ Helium in the eroding atmosphere of an exoplanet เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2018 ที่ผ่านมา แต่การตรวจพบ Helium บนดาวเคราะห์ต่างระบบนั้นมีมาตั้งแต่ปี 2017
ค้นพบแก๊ส Helium ได้อย่างไร
เมื่อดาวเคราะห์เคลื่อนผ่านหน้าดาวฤกษ์ของมัน หรือเรียกปรากฏการณ์ Transit แสงจากดาวฤกษ์จะหักเหผ่านชั้นบรรยากาศ บางส่วนทะลุผ่าน บางส่วนสะท้อนกลับหมดภายใน ทำให้เราสามารถตรวจจับสีของแก๊ส (Spectroscopy) และบ่งชี้ได้ว่ามีแก๊ส Helium บนดาว WASP-107b ได้
ข้อมูลที่นักดาราศาสตร์ตรวจจับได้บ่งชี้อีกว่าสัญญาณตรวจจับแก๊ส Helium นั้นมีความเข้มสูงมากและกินบริเวณกว้าง แสดงให้เห็นว่าดาวเคราะห์ดังกล่าวมีชั้นบรรยากาศที่ประกอบไปด้วยเมฆ Helium กว้างเป็นหมื่นๆกิโลเมตร และต่อไปนักวิจัยจะใช้วิธีนี้เมื่อกล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb พร้อมใช้งานในอนาคต
ทั้งนี้แก๊ส Helium เป็นธาตุที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับสองในเอกภพ (อันดับหนึ่งคือ ไฮโดรเจน) ค้นพบครั้งแรกในปี 1868 โดยนักดาราศาสตร์ Norman Lockyer คำว่า Helium มาจากรากศัทพ์คำว่า Helios – เทพแห่งดวงอาทิตย์ตามตำนานเทพนิกายกรีก