ในช่วงหลังศตวรรษที่ผ่านมา เราค้นพบคลื่นไมโครเวฟพื้นหลัง (Cosmic Microwave Background Radiation : CMBr) ทำให้เราทราบว่าสสารในเอกภพบางส่วนไม่สะท้อนแสง เรียกสสารนั้นว่า “สสารมืด (Dark Matter)“
สสารมืดถูกประมาณว่ามีอยู่ 84 เปอร์เซนต์ในเอกภพของเรา โดยแทรกอยู่ระหว่างช่องว่างของกาแล็กซี สสารมืดไม่ปลดปล่อยหรือดูดแสง หรือเราเรียกว่า “ไม่ทำอันตรกิริยากับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” แต่สสารมืดจะทำอันตรกิริยากับความโน้มถ่วง จึงทำให้ทราบได้ว่ามันน่าจะมีอยู่จริง
Dark Matter อาจเกิดจากซากของหลุมดำสมัยหลังเกิด Bigbang
นักดาราศาสตร์ Qirong Zhu เชื่อว่าสสารมืดอาจมีหลุมดำที่เกิดหลังเกิดบิกแบง (Primordial Black hole) เป็นองค์ประกอบ เขาอธิบายว่า
ถ้าช่องว่างระหว่างกาแล็กซีมีมวลสารของหลุมดำแทรกตัวอยู่ มันควรมีการกระจายตัวมากกว่าทฤษฎีก่อนหน้าที่เชื่อว่าช่องว่างดังกล่าวเกิดจากการแทรกตัวของอนุภาคที่ตรวจจับไม่ได้
นักดาราศาสตร์ลองตรวจสอบสมมติฐานดังกล่าว โดยเพ่งเล็งการสำรวจไปที่กาแล็กซีแคระเล็กๆ ที่มีค่าความสว่างไม่กี่พันเท่าของดวงอาทิตย์จึงง่ายแก่การสังเกต ทีมวิจัยได้สร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ เพื่อทดสอบว่ากาแล็กซีแคระมี Primordial Black hole แทรกตัวระหว่างดาวฤกษ์อยู่จริงหรือไม่ ถ้ามีอยู่จริงหลุมดำต้องเข้าไปรบกวนระยะห่างหรือการกระจายของดาวฤกษ์บ้างเล็กน้อย

ขนาดหลุมดำใกล้เคียงกับวิธีการที่ค้นพบด้วยคลื่นความโน้มถ่วง
นอกจากนั้นนักดาราศาสตร์พบว่า Primordial Black hole ต้องมีมวลประมาณ 2 – 4 ของดวงอาทิตย์ของเรา ถึงแม้ดวงเลขดังกล่าวจะประมาณขนาดของหลุมดำเล็กว่าวิธีที่ตรวจพบด้วยคลื่นความโน้มถ่วง ซึ่งนักวิจัยจะนำไปเทียบเคียงภายหลัง
ทีมวิจัยเน้นย้ำว่ายังสรุปไม่ได้ว่าสสารมืดมี Primordial Black Hole เป็นองค์ประกอบ เพียงแต่แนวทางนี้เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการหาต้นกำเนิด หรือคำอธิบายเกี่ยวกับสสารมืด ทั้งนี้งานวิจัยได้ตีพิมพ์ในวารสารรายเดือนของ Royal Astronomical Society (2018)