นักวิจัยพบว่าหมึกจะกินมื้อเที่ยงน้อยลง เพื่อเตรียมท้องไว้สำหรับมื้อเย็น ซึ่งเป็นกุ้งอาหารสุดโปรดที่มันชื่นชอบมาก นั่นจึงทำให้มันเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการคิดและจดจำอันซับซ้อน
Pauline Billard นักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ภาควิชาจิตวิทยากล่าวว่า
Pauline Billard นักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ภาควิชาจิตวิทยากล่าวว่า
เรารู้กันมานานแล้วว่าสมองของหมึกนั้นมีความซับซ้อนสูง นักวิทยาศาสตร์บางท่านถึงกับเชื่อว่ามันเป็นสิ่งมีชีวิตจากต่างดาวเลยทีเดียวเพราะความฉลาดของมัน จากการสืบค้นของแอดมินพบว่าอย่างใน ปี ค.ศ. 2009 นักชีววิทยา 3 ท่าน ได้แก่ Finn, J.K. T. Tregenza และ M.D. Normann ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยผ่านวารสาร Current Biology ในหัวข้อ Defensive tool use in a coconut-carring โดยเผยคลิปหมึก Veined หรือรู้จักกันในชื่อ Amphioctopus marginatus ชื่อสามัญ “หมึกมะพร้าว”
เนื่องจากมันมีพฤติกรรมที่ชอบนำลูกมะพร้าวขนาดกลางมาทำเป็นที่กำบัง ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ฉลาด รู้จักใช้เครื่องมือในการดำรงชีพ
หมึกมะพร้าว
หรือจะเป็นที่ Aquarium of the pacific หมึกแดงตัวน้อยนี้ก็สามารถแกะกล่องที่มีกลไกการเปิดค่อนข้างซับซ้อน จนสามารถเข้าไปอยู่ข้างในได้ ฉลาดไม่เบา
กลับมาที่งานวิจัยของ Pauline Billard เขาได้ทดลองสุ่มให้อาหารเย็นกับ “หมึกกระดอง” โดยเป็นกุ้งในบางวัน โดยเชื่อว่าหมึกจะไม่สามารถทำนายได้ว่าเขาจะให้หรือไม่ให้ในตอนเย็นไม่ว่าวันไหนก็ตาม
หรือบางวันเขาก็ให้กุ้งเป็นอาหารเย็นก่อนล่วงหน้า เพื่อให้หมึกไม่สามารถจดจำเวลาที่แน่นอนได้
โดยพบว่ามันจะลดกิจกรรมจับเหยื่อที่ให้ในช่วงมื้อเที่ยงลง แต่ก็กินพอที่จะอยู่รอดได้ในวันนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าในช่วงเย็นท้องมันจะว่างพอที่จะกินมื้อเย็นเป็นกุ้งอาหารที่มันชื่นชอบได้
แต่หมึกก็ไม่ยอมให้ถูกหลอกง่าย ๆ มันพยายามปรับพฤติกรรม และหากลยุทธ์รับมือ โดยการเรียนรู้จดจำรูปแบบของอาหารที่ได้ (Remembering patterns of food)
ก็อารมณ์แบบที่เรานัดเพื่อนจะกินบุฟเฟ่ต์ตอนเย็นแหละครับ มื้อเที่ยงเราจะไม่กินอะไรมาก ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่ซับซ้อนสำหรับหมึก แต่ง่ายสำหรับมนุษย์ ฮ่า ๆ
ทั้งนี้นักวิจัยได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สัตว์หลายชนิดต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หมึกก็เช่นกัน แต่มันได้เปรียบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ตรงที่มีสมองส่วนกลางขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดตัว มันเริ่มเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่อายุยังน้อย สามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต และใช้ข้อมูลนั้นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้
ศาสตราจารย์ Nicola Clayton หนึ่งในนักวิจัยในกลุ่มเดียวกันกล่าวว่า
“การค้นพบนี้ช่วยให้เราได้ข้อมูลเชิงลึกที่มีค่ามากเกี่ยวกับวิวัฒนาการของความสามารถทางปัญญาของสิ่งมีชีวิตอย่างหมึกที่มีสมองอันซับซ้อนนี้ได้”
เรียบเรียงโดย Einstein@min
Sources:
[1] Cuttlefish. wiki, 2020 : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Cuttlefish
[2] Alien intelligence: the extraordinary minds of octopuses and other cephalopods. theguardian.com, 2020 : https://www.theguardian.com/environment/2017/mar/28/alien-intelligence-the-extraordinary-minds-of-octopuses-and-other-cephalopods
[3] Cuttlefish eat less for lunch when they know there’ll be shrimp for dinner. phys.org, 2020 : https://phys.org/news/2020-02-cuttlefish-lunch-therell-shrimp-dinner.html
[4] Cuttlefish show flexible and future-dependent foraging cognition. the royal society, 2020 : https://royalsocietypublishing.org/doi/10.1098/rsbl.2019.0743
ติดตามผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
แอพ Blockdit : https://www.blockdit.com/thaiscience
Instagram : https://www.instagram.com/thaisciencenews
Twitter : https://twitter.com/Thaiphys