ณ กาแล็กซี 1ES 1927+654 มีหลุมดำตั้งอยู่ห่างจากโลกออกไปประมาณ 300 ล้านปีแสง แต่เดิมความสว่างเมื่อสังเกตผ่านรังสีเอกซ์ไม่เคยหดหายไป หากเปรียบหลุมดำคือราชา มงกุฎของหลุมดำ (black hole corona) ก็คือ การเรืองแสงของรังสีเอกซ์ที่เป็นของคู่กัน
จนกระทั่งสองปีที่ผ่านมา จู่ ๆ ความสว่างของรังสีเอกซ์ก็ค่อย ๆ จางหายไปเกือบ 10,000 เท่าในระยะเวลา 40 วัน ก่อนที่จะเริ่มคืนความสว่างกลับมาใน 100 วันให้หลัง
(รูป a) เหตุที่เป็นเช่นนั้น นักวิจัยสันนิษฐานว่าน่าจะมีดาวฤกษ์ผู้เคราะห์ร้ายวิ่งผ่านเข้ามาด้วยแรงโน้มถ่วงของหลุมดำ เมื่อหลุดเข้าไปในขอบฟ้าเหตุการณ์ (Event Horizon) ซึ่งเป็นขอบเขตไม่อาจหวนคืนกลับได้ อีกทั้งดาวฤกษ์มีแรงดึงดูดมหาศาลเช่นกัน เลยดึงดูดกลุ่มแก๊สที่ทำหน้าที่สร้างรังสีเอกซ์ (หรือมงกุฎ) เข้าหาหลุมดำพร้อมกัน (ไปทั้งคู่)
…จนหายวั๊บไป (รูป b)
Claudio Ricci หนึ่งในนักวิจัย กล่าวว่า
“เราไม่เคยเห็นปรากฏการณ์ที่ผิดปกติแบบนี้รอบจานหมุน (Accretion Disk) ของหลุมดำมาก่อน นอกจากเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นแล้ว ยังเป็นโอกาสพิเศษในการสังเกตปรากฏการณ์ในครั้งนี้อีกด้วย”
การกลับมาของมงกุฎ
เมื่อผ่านไปประมาณ 100 วันหลังจากที่มงกุฎของหลุมดำหายไป ก็ปรากฏการเรืองแสงของรังสีเอกซ์รอบหลุมดำอีกครั้ง (รูป c)
อันเนื่องมาจากแก๊สร้อนที่หลงเหลืออยู่โคจรรอบหลุมดำด้วยความเร็วสูง จนปลดปล่อยรังสีเอกซ์เหนือหลุมดำ (Generate a new corona) แถมยังให้ความสว่างมากกว่ามงกุฎอันเดิมถึง 20 เท่าในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (รูป d)
ก่อนที่จะยกตัวสูงขึ้นไปเหนือหลุมดำอีกครั้ง (รูป e) อย่างสวยงาม
Kara หนึ่งในนักวิจัยกล่าวว่า
“นี่เป็นโอกาสสำคัญในการทำความเข้าใจว่ามงกุฎของหลุมดำก่อกำเนิดได้อย่างไรในตอนแรก”
เรียบเรียงโดย Einstein@min | thaiphysicsteacher.com
Sources:
[1] In a first, astronomers watch a black hole’s corona disappear, then reappear. phys.org, 2020 : https://phys.org/news/2020-07-astronomers-black-hole-corona-reappear.html
[2] Runaway star might explain black hole’s disappearing act. phys.org, 2020 : https://phys.org/news/2020-07-runaway-star-black-hole.html
ติดตามผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
แอพ Blockdit : https://www.blockdit.com/thaiscience
Instagram : https://www.instagram.com/thaisciencenews
Twitter : https://twitter.com/Thaiphys