เปิดปีใหม่ จีนก็ได้ทำภารกิจสำรวจอวกาศที่สร้างความสนใจให้กับหลายชาติทั่วโลก นั่นก็คือ การสำรวจดวงจันทร์ในด้านที่ไกลออกไป (Dark Side or Far side of the moon) และหนึ่งในภารกิจครั้งนี้ก็คือ การเพาะปลูกบนดวงจันทร์
เมล็ดที่ใช้ปลูกบนดวงจันทร์ คือ เมล็ดของต้นฝ้าย ที่อยู่ในกระบะเพาะปลูกบนยานภาคพื้นดิน Chang’e – 4 (แปลว่า เทพธิดาจันทรา) และเป็นยานสำรวจลำแรกที่ลงจอดในบริเวณด้านไกลของดวงจันทร์ (ด้านที่คนบนโลกไม่เคยได้เห็น เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลกใช้เวลาพอ ๆ กับที่มันหมุนรอบตัวเอง) โดยภาพที่แสดงการงอกของเมล็ดฝ้ายได้ส่งผ่านมายังโลกที่สถาบัน Advanced Technology Research ณ มหาวิทยาลัย Chongqing
Xie Gengxin นักวิทยาศาสตร์ผู้นำการทดลองเพาะปลูกเมล็ดฝ้ายในครั้งนี้กล่าวว่า
นี่เป็นครั้งแรกที่มนุษย์ได้เพาะปลูกพืชทดลองบนผิวของดวงจันทร์
แต่ทว่าการทดลองดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการใช้ดิน หรือทรัพยากรของดวงจันทร์ เพราะอุปกรณ์การทดลองได้ถูกแพ็คขึ้นมาพร้อมเสร็จ ตั้งแต่อยู่บนโลก มีทั้งถังน้ำ อากาศ และดิน นอกจากนี้ยังมีเมล็ดพันธ์ุอื่น ๆ เช่น มันฝรั่ง ต้นเธลเครส
เป้าหมายภารกิจ
- ดวงจันทร์มีแรงโน้มถ่วงน้อยกว่าโลก 6 เท่า ดังนั้นจึงเป็นเรื่องน่าสนใจว่าเรายังสามารถเพาะปลูกพืชบนโลกจันทร์ได้หรือไม่ เพราะพืชบนโลกจะออกรากตามแรงโน้มถ่วงของโลก และลำต้นจะยืดขึ้นตรงข้ามกับทิศทางแรงโน้มถ่วง
- นอกจากนี้ภารกิจการสำรวจดวงจันทร์ของยืนยังครอบคลุมไปถึงการสำรวจสิ่งแวดล้อมของดวงจันทร์ (Lunar Environment) สภาพรังสีคอสมิค (Cosmic Radiation) และความสัมพันธ์ระหว่างลมสุริยะ (Solar Wind) กับพื้นผิวของดวงจันทร์ (Moon’s Surface) อีกด้วย
- และภายในสิ้นปีนี้ยานสำรวจอวกาศจะนำตัวอย่างหินและดินจากดวงจันทร์กลับมายังโลก เพื่อใช้วางแผนในการสร้างสิ่งปลูกสร้างบนดวงจันทร์โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ด้วยเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติ (3D printing technology)
ทั้งนี้ยานสำรวจภาคพื้นดิน Chang’e – 4 ได้รับความร่วมมือในการพัฒนาอุปกรณ์ต่าง ๆ จากหลายนานาชาติ เช่น Sweden Germany อีกด้วย
Read Original Article and More Detail & Media
“Cottoning on: Chinese seed sprouts on moon.”. [Online]. via : phys.org 2018.