เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2018 ที่ผ่านมา NASA แจ้งว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศ Chandra ได้หยุดทำงานกระทันหัน สาเหตุอันเนื่องมาจากปัญหาระบบการทำงาน Gyroscope
ไม่ใช่แค่กล้องโทรทรรศน์อวกาศ Chandra ที่หยุดทำงาน เมื่อ 1 สัปดาห์ก่อน กล้องโทรทรรศน์อวกาศชื่อดังอย่าง Hubble ก็เข้าสู่โหมด Offline เช่นกัน และทั้งสองก็มีปัญหาเรื่องการทำงานของระบบ Gyroscope
ทีมงานวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นเพราะกล้องโทรทรรศน์อวกาศทั้งสองอายุมากแล้ว
กล้องโทรทรรศน์อวกาศ | ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อปี | เป้าหมายการใช้งานถึงปี | อายุปัจจุบัน (ปี) |
Hubble | 1990 | 2030 – 2040 | 28 |
Chandra | 1999 | 2004 | 19 |
ภาพถ่ายกาแล็กซี NGC 6357 ผลงานของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Chandra
Jonathan McDowell นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัย Harvard-Smithsonian และเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานกับปฏิบัติการสำรวจด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Chandra ถึงกลับทวีตว่า
My leading theory is that Chandra decided that if Hubble could have a little vacation, it wanted one too.
— Jonathan McDowell (@planet4589) October 12, 2018
หรือแปลว่า
ผมคิดว่า Chandra คงตัดสินใจเหมือนกับ Hubble ที่ขอหยุดพักร้อนแปปนึง
ทั้งนี้กล้องโทรทรรศน์อวกาศมีภารกิจสำรวจเทหวัตถุในอวกาศเหมือนกัน แต่สำรวจในช่วงความยาวคลื่นที่แตกต่างกันออกไป
- Hubble – รับแสงในย่านใกล้อินฟราเรด (Near-infrared), แสงที่ตามองเห็น (Visible Light) และอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet)
- Chandra – รังสีเอกซ์ (X-ray) ในช่วง 0.12 – 12 นาโนเมตร ที่ระดับพลังงาน 0.1 – 10 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ (KeV)
Read Original Article and More Detail & Media
“Another NASA space telescope shuts down in orbit.”. [Online]. via : phys.org 2018.
“Hubble Space Telescope.”. [Online]. via : wiki 2018.
“Chandra X-ray Observatory.”. [Online]. via : wiki 2018.
No Responses