เครื่อง LHC หรือ Large Hardon Collider ที่ CERN ทำการวิจัยเกี่ยวกับการปะทะของอนุภาค โดยปล่อยอนุภาคให้วิ่งชนกันเป็นวงกลมด้วยความเร็วสูง ล่าสุดได้มีการเผยภาพการทดลองการชนของอนุภาคที่ระดับพลังงาน 13 TeV (หรือ 13 ล้านล้านอิเล็คตรอนโวลต์) เป็นครั้งแรก โดยการทดลองในครั้งนี้ได้เพิ่มความปลอดภัยให้ตัวเครื่องเร่งอนุภาคและเครื่องตรวจจับหาอนุภาคที่อยู่บริเวณขอบของลำอนุภาคที่ปล่อยไป
หัวใจหลักของการทดลองในครั้งนี้ คือ การติดตั้งอุปกรณ์ Collimators (ซึ่งหมายถึงอุปกรณ์ที่ควบคุมลำแสงให้ขนานกัน) กล่าวคือ ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ฉายลำแสงอนุภาคออกไป ลำแสงจะกระจัดกระจายบริเวณขอบ โดยเครื่อง Collimators จะทำหน้าที่ดูดซับอนุภาคที่กระจัดกระจายบริเวณขอบให้กลับมาอยู่ในแนวลำแสงที่ถูกปล่อยออกไป หรือกล่าวให้ง่ายขึ้นคือ ทำให้แนวลำแสงมีความคมไม่กระจัดกระจาย
การชนของลำแสงในเครื่อง LHC จะกินเวลาประมาณ 1 -3 ชั่วโมง โดยทีมปฏิบัติการ LHC จะนั่งอยู่หน้าจอมอนิเตอร์เพื่อตรวจสอบคุณภาพของลำแสง เช่น การลดการกระจัดกระจายของลำแสงบริเวณขอบ และเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งไป
การทดลองครั้งนี้ต้องอาศัยความเข้มงวดเป็นอย่างมากทั้งเรื่องคุณภาพของลำแสง และความปลอดภัยของอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้การทดลองนั้นออกมาสมบูรณ์และผิดพลาดน้อยที่สุด โดยการทดลองในครั้งนี้ ต้องเดินเครื่องตรวจจับถึง 7 ตัวด้วยกัน ได้แก่ ALICE, ATLAS, CMS, LHCb, LHCf, MOEDAL และ TOTEM
และล่าสุด CERN ได้ประกาศออกมาว่าการทดลองครั้งที่ 2 จะเริ่มในช่วงก่อนเดือนมิถุนายน ปี 2015 นี้
ชมชุดภาพเครื่องตรวจจับแบบต่างๆ (Detectors)
โปรตอนชนกันที่ระดับพลังงาน 13 TeV เราจะเห็นอนุภาคหลายตัวที่แตกออกมาจากการชนกำลังวิ่งผ่านเครื่องตรวจจับ ALICE
เครื่องตรวจจับ CMS
เครื่องตรวจจับ ATLAS
เครื่องตรวจจับ LHCb
เครื่องตรวจจับ TOTEM
สามารถเข้าไปดูการทำงานของเครื่องตรวจจับแบบต่างๆได้ว่าแต่ละเครื่องนั้นถูกออกแบบมาให้ตรวจจับอนุภาคใดบ้าง
ALICE – http://home.web.cern.ch/about/experiments/alice
ATLAS – http://home.web.cern.ch/about/experiments/atlas
CMS – http://home.web.cern.ch/about/experiments/cms
LHCb – http://home.web.cern.ch/about/experiments/lhcb
LHCf – http://home.web.cern.ch/about/experiments/lhcb
MOEDAL – http://home.web.cern.ch/about/experiments/moedal
TOTEM – http://home.web.cern.ch/about/experiments/totem
“First Image of collision at 13 TeV”. [Online]. Available : CERN 2558.