มีดวงจันทร์มากกว่าพันดวงในระบบสุริยะของเรา แต่ดาวไททัน (Titan) ดาวบริวารของดาวเสาร์ เป็นดวงจันทร์บริวารเพียงดวงเดียวที่มีชั้นบรรยากาศหนาแน่น และมีแหล่งของเหลวอยู่บนพื้นผิว ทำให้มันเป็นดาวที่มีลักษณะคล้ายโลกของเรา
โลกและไททันต่างก็มีไนโตรเจน (Nitrogen) เป็นองค์ประกอบหลักของชั้นบรรยากาศต่างๆ สำหรับไททันมีมากถึง 95 เปอร์เซนต์ ซึ่งไม่เหมือนกับโลกของเราที่มีแก๊สออกซิเจน (Oxygen) ในอัตราส่วนที่มากกว่า ส่วนที่เหลือของบรรยากาศไททันจะเป็นแก๊สมีเทน (Methane) รวมถึงอีเทน (Ethane) อีกด้วย ด้วยความที่ไททันอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นอย่างมาก จึงเป็นผลให้มีเทนและอีเทนอยู่ในสถานะของเหลวบนพื้นผิวของดาวได้
ด้วยเหตุผลนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอาจมีทะเลสาบหรือทะเลของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน จากข้อมูลภารกิจ NASA/ESA Cassini-Huygens ที่ส่งยานอวกาศ Cassini ไปตั้งแต่ปี 2004 ก็ทำให้สำรวจพบพื้นที่ที่เป็นของเหลวมากถึง 1.6 ล้านตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2% ของดาวไททันเป็นของเหลวนั่นเอง
มีทะเลขนาดใหญ่ 3 แห่ง ทั้งหมดตั้งอยู่ใกล้ขั้วเหนือของดาว และก็มีทะเลสาบขนาดเล็กกระจายอยู่รอบๆ และมีเพียงทะเลสาบขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ตั้งอยู่ในทางตอนใต้ของดาว
ภารกิจอื่นๆ ของยานสำรวจอวกาศแคสซินี
Read Original Article and More Detail & Media
“Cassini Explores a Methane Sea on Titan.”. [Online]. via : NASA 2016.
No Responses