กาแล็กซีส่วนมากล้วนมีหลุมดำมวลยิ่งยวดอาศัยอยู่ ณ ใจกลาง ไม่เว้นแม้แต่กาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา โดยมันมีชื่อว่า “Sagittarius A* : Sgr A*” (มีดอกจันด้วยนะ)
เจ้านี่ตามข้อมูลกินมวลสารของแก๊สและดาวฤกษ์ที่โคจรเข้ามาใกล้ตั้งแต่ยุคกำเนิดเอกภพใหม่ ๆ อ้วนท้วนสมบูรณ์ มีมวลประมาณ 4.5 พันล้านเท่าของดวงอาทิตย์
ปัจจุบันการกินของ Sgr A* ยังคงเป็นไปอย่างเงียบ ๆ ยิ่งเราเห็นแสงสว่างรอบ ๆ ตัว มันมากเท่าไหร่ แสดงว่ามันกินเยอะมาก เนื่องจากมวลสารของแก๊สถูกเร่งจากแรงโน้มถ่วงมหาศาลของหลุมดำจนมีความเร็วสูงและมีพลังงานมากพอที่จะปลดปล่อยออกมาในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้เราตรวจจับได้
รูปที่คล้ายฟองอากาศสีชมพูที่เห็นนี้มีชื่อเรียกว่า “Fermi Bubbles” – “ฟองของ Fermi” (ชื่อนักวิทยาศาสตร์) ถูกตรวจพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 2015 โดยกล้องโทรทรรศน์ Fermi Gamma – Ray มีความสามารถในการตรวจจับรังสีเอกซ์ (X – ray) และรังสีแกมมา (Gamma – Ray) ต่อมานักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลวิเคราะห์โครงสร้าง Fermi Bubbles เพิ่มเติมรวมถึงการก่อตัวของมัน (ตรวจวัดได้ แต่ไม่ได้ถ่ายออกมาเป็นภาพนี้นะครับ เรายังไม่มียานสำรวจอวกาศลำใด วิ่งออกไปนอกกาแล็กซีทางช้างเผือกได้เลย – พูดง่าย ๆ ได้ว่าเอาข้อมูลมาประกอบการทำโมเดลภาพ)
ส่วนอาการที่เหมือนว่าหลุมดำ ณ ใจกลางกาแล็กซ๊ปลดปล่อยมวลสารและรังสีออกมาถูกเรียกว่า “Burped Out” หรือ “การเรอออกมา” ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยธาตุจำพวก Silicon และ Carbon เป็นหลัก มีความเร็วสูงมากถึง 3 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีอุณหภูมิประมาณ 9,800 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังปลดปล่อยรังสีตามที่กล่าวมาข้างต้น
Fermi Bubbles เกิดจากมวลสารบางส่วนสามารถหนีแรงโน้มถ่วงของหลุมดำ (หนีจากการถูกเขมือบ) ได้ หากมันเคลื่อนที่หนีและอยู่ในแนวแกนหมุนของหลุมดำด้วยความเร็วสูงมากพอ และ Fermi Bubbles สามารถขยายตัว/เคลื่อนที่ได้ไกลมากถึง 10,000 ปีแสงเลยทีเดียว
เมื่อนักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ความเร็วของแก๊สที่ถูกปลดปล่อยออกจากใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก (หรือจากหลุมดำ Sgr A) ก็สามารถอนุมานได้ว่าเจ้า Sgr A กำลัง Enjoy กับการกินมากแค่ไหน หากมีแก๊สหลุดออกมาด้วยความเข้มมาก แสดงว่ากินเยอะจนปริมาณแก๊สหลุดออกมาอย่างกระจัดกระจายราวกับคนที่กินมูมมามจนอาหารหล่นจากปาก
เรียบเรียงโดย Einstein@min | @thaiphysicsteacher.com
Sources :
[1] Hubble solves the mystery bulge at the center of the Milky Way. Astronomy, 2019 : http://astronomy.com/news/2017/03/fermi-bubbles
ติดตามผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
แอพ Blockdit : https://www.blockdit.com/thaiscience
Instagram : https://www.instagram.com/thaisciencenews
Twitter : https://twitter.com/Thaiphys