ดวงอาทิตย์ในช่วงก่อนเกิดเป็นอย่างไร ยังคงเป็นปริศนาที่นักดาราศาสตร์พยายามหาคำตอบ ทั้งนี้ดวงอาทิตย์ของเราถือกำเนิดเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีก่อน ซึ่งอีก 50 ล้านปีต่อมาโลกเราจึงถือกำเนิดขึ้นดังนั้นดวงอาทิตย์มีอายุแก่กว่าโลกอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ความยากอยู่ตรงที่การหาวัตถุสักชิ้นที่กำลังโคจรรอบดวงอาทิตย์ในช่วงก่อนเกิด เพราะมันน่าจะมีองค์ประกอบทางเคมีที่ระบุความเป็นไปของดวงอาทิตย์ในช่วงนั้นได้
กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้ตีพิมพ์ผลงานการวิเคราะห์ผลึกสีฟ้า (Blue Crystal in meteorite) ลงในวารสาร Nature Astronomy โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
ผลึกสีฟ้า (Blue Crystal)
ณ พิพิธภัณฑ์ Field ในเมืองชิคาโก, รัฐอิลลินอยส์ มีผลึกสีฟ้าที่พบจากก้อนอุกกาบาตโบราณนามว่า “Murchison” ซึ่งตกในเมือง Murchison รัฐ Victoria ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี 1969 มันเก่าแก่มากพอที่จะทำให้เราทราบได้ว่าช่วงที่ดวงอาทิตย์พึ่งเกิดมีลักษณะเป็นอย่างไร
ศาสตราจารย์ Philipp Heck จากมหาวิทยาลัยชิคาโกผู้นำการวิจัยกล่าวว่า
ดวงอาทิตย์ในช่วงนั้นมีอัตราการเผาผลาญสูงมาก มีการระเบิดและการส่งลำอนุภาคพลังงานสูงสู่อวกาศอยู่บ่อยๆ เปรียบเหมือนกับลูกชายอายุ 3 ขวบของผม เขามีความกระตือรือร้นและซนเป็นอย่างมาก
ผลึกสีฟ้าที่ Heck และนักเรียนของเขาได้ใช้กล้องไมโครสโครปส่องนั้น มีชื่อเรียกเฉพาะว่า Hibonite ((Ca,Ce)(Al,Ti,Mg)12O19)) – เป็นผลึกแร่ขนาดเล็กพอๆกับความกว้างของเส้นผมมีหลากสี (ไม่ใช่เฉพาะสีฟ้า แล้วแต่แร่ในผลึก) มีความแข็งประมาณระดับ 7.5 – 8.0 ในขณะที่เพชรมีความแข็งประมาณ 10.0 พบได้เฉพาะช่วงที่ดวงอาทิตย์พึ่งเกิดใหม่ๆ เท่านั้น และมีร่องรอยอนุภาคพลังงานสูงจากแก๊สมีตระกูล เช่น ไฮโดรเจน, ฮีเลียม วิ่งเข้าชนอยู่บ่อยๆ ซึ่งแน่นอนว่าแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นองค์ประกอบของดวงอาทิตย์อยู่แล้ว
แล้วการศึกษา Hibonite นำไปสู่ข้อสรุปใด
จากร่องรอยดังกล่าวแสดงว่าให้เห็นว่าช่วงดวงอาทิตย์ก่อกำเนิดต้องมีอุณหภูมิสูงมาก (อนุมานจากร่องรอยการชนของแก๊สมีตระกูลพลังงานสูงบนผลึก) และพบในแผ่นจานแก๊สและฝุ่นที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ (เรียกว่า Massive Disk) ซึ่งมีอุณหภูมิประมาณ 1,500 องศาเซลเซียส และเมื่อ Massive Disk เย็นตัวลงจึงเกิดผลึก Hibonite ในที่สุด
Read Original Article and More Detail & Media
“High early solar activity inferred from helium and neon excesses in the oldest meteorite inclusions.”. [Online]. via : Nature Astronomy 2018.