จะเกิดอะไร เมื่อวัตถุอย่างดาวฤกษ์เคลื่อนที่ผ่านหลุมดำ
เป็นเวลากว่า 10 ปีที่นักดาราศาสตร์จาก NASA ศึกษาแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ที่มีชื่อรหัสว่า “XJ1500+0154” โดยอยู่ห่างจากโลกไป 1.8 พันล้านปีแสง หรือประมาณ 17,000 ล้านล้านล้านกิโลเมตร ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ดาวฤกษ์ถูกฉีกออกเป็นส่วนๆด้วยแรงโน้มถ่วงสูงของหลุมดำ
นักดาราศาสตร์พบว่า เมื่อดาวฤกษ์ดวงนี้ถูกดูดด้วยแรงโน้มถ่วง มวลของมันจะถูกเร่งให้มีความเร็วสูงมาก และพุ่งเข้าหาหลุมดำ สสารเริ่มมีอุณหภูมิสูงขึ้น ร้อนขึ้น จนกระทั่งปลดปล่อยรังสีเอกซ์ออกมาก ปรากฏการณ์ดังกล่าวถูกเรียกว่า “Tidal Disruption Events : TDEs” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ถูกใช้อธิบายว่าทำไมหลุมดำถึงเริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะมันกินดาวฤกษ์ดวงอื่นนั่นเอง
มีหลายเหตุการณ์ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับ TDEs ในรอบ 1-2 ปีมานี้ แต่จากการสังเกตของกล้องโทรทรรศน์ที่มีความสามารถตรวจจับรังสีเอกซ์ 3 แห่ง ได้แก่ Chandra Swift และ XMM-Newton พบว่า TDEs ที่เกิดขึ้นมานานกว่า 10 ปี หรือประมาณตั้งแต่ปี 2005 นั้นยังคงปลดปล่อยรังสีเอกซ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ทำให้เป็นเรื่องประหลาดสำหรับนักดาราศาสตร์เป็นอย่างมาก ความน่าจะเป็นที่จะใช้อธิบายเหตุผลดังกล่าวมีด้วยกัน 2 ข้อ คือ
- อาจเป็นเพราะหลุมดำ ค่อยๆกินสสารจากดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่ จึงทำให้ยังคงตรวจจับปรากฏการณ์ TDEs ได้อยู่
- ไม่ก็เป็นเพราะหลุมดำกินดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กได้หมดทั้งดาว
ชมวีดิโออธิบายปรากฏการณ์
Read Original Article and More Detail & Media
“Black Hole Meal Sets Record for Duration And Size.“. [Online]. via : NASA 2016.
“XJ1500+0154: Black Hole Meal Sets Record for Duration and Size.“. [Online]. via : harvard 2016.