หลุมดำ ณ ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกยังคงเขมือบมวลสารอย่างต่อเนื่อง
ณ ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกมีหลุมดำขนาดใหญ่ (Supermassive Blackhole) นามว่า ” Sagittarius A* ” จอมตะกละ แรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของมันได้ดึงดูดแก๊ส หรือแม้กระทั่งดาวฤกษ์ที่หลงเข้ามาใกล้ขอบเขตที่ไม่สามารถหนีได้ ทุกครั้งที่มีการเขมือบสสาร จะมีการปลดปล่อยรังสีทำให้เราสามารถตรวจจับพฤติกรรมได้
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 ถึงปัจจุบัน กลุ่มนักวิจัยจากหอสังเกตการณ์สองแห่งได้แก่ W.M. Keck ในฮาวาย และและหอสังเกตการณ์ European Southern ในชิลีได้วิเคราะห์และตรวจพบหลุมดำมากกว่า 13,000 แห่ง คิดเป็นระยะเวลา 133 คืน จนกระทั่งวันที่ 13 พฤษภาคมที่ผ่านมา
“ตรวจพบจุดสว่างวาบสองครั้ง ซึ่งมาจากการปลดปล่อยรังสีของแก๊สและฝุ่นที่ตกลงไปในหลุมดำ”
Mark Morris ศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์และดาราศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ลอสแอนเจลิสตั้งข้อสังเกตว่า
“คำถาม คือ แสงวาบที่เราตรวจจับได้บ่อยขึ้นในภายหลัง เป็นตัวบ่งชี้ว่าหลุมดำกำลังเข้าสู่สถานะใหม่หรือไม่? เช่น เมื่อมันมีมวลมากถึงระดับหนึ่ง อัตราการดึงดูดจะสูงขึ้นทำให้มันเขมือบเร็วขึ้น เหมือนเราเปิดจุกท่อน้ำทิ้ง ซึ่งเดิมแค่เปิดแง้ม ๆ ไว้ พอยกออกมา น้ำก็ไหลลงท่อเร็วยิ่งขึ้น”
เพื่อหาคำตอบของคำถามดังกล่าว เราก็ต้องค้นหาหลุมดำที่มีแนวโน้มจะมีพฤติกรรมเช่นนั้น นั่นก็คือ Sagittarius A* – เป็นหลุมดำที่ตั้งอยู่ใกล้ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก
Ghez และ Arthur นักวิจัยอีกสองท่านให้ความเห็นว่า
“เราต้องการรู้วิวัฒนาการของหลุมดำเมื่อมันโตขึ้น ผลกระทบของมันที่มีต่อกาแล็กซี รวมทั้งเอกภพ และอะไรทำให้หลุมดำมวลยิ่งยวดพวกนี้สว่างขึ้นเรื่อย ๆ”
จากการสังเกตการณ์หลุมดำ Sagittarius A* มีข้อสันนิษฐานหนึ่งที่เชื่อว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดจุดสว่างวาบนั้น อาจเป็นเพราะ
“ดาวฤกษ์ S0-2 ที่อยู่ใกล้หลุมดำ โคจรเข้าใกล้ในระยะหนึ่ง จนมวลสารบางส่วนของดาวฤกษ์ S0-2 ถูกดึงดูดเข้าใกล้หลุมดำ Sagittarius A* และเกิดการปลดปล่อยรังสีให้เราตรวจจับได้”
หรืออีกข้อสันนิษฐานหนึ่งก็คือ อาจเป็นดาวฤกษ์คู่นามว่า G2 ขณะโคจรเข้าใกล้หลุมดำ Sagittarius A* และถูกดูดมวลสารอีกเช่นกัน แต่เนื่องจากมันเป็นระบบดาวฤกษ์คู่ ทำให้มีโอกาสเกิดจุดสว่างวาบได้บ่อยครั้ง และมีขนาดความสว่างมากยิ่งขึ้น
ไม่ส่งผลอันตรายต่อโลก
นักวิจัยได้ศึกษาดาวฤกษ์กว่า 3,000 ดวงที่โคจรรอบหลุมดำ Sagittarius A* ตั้งแต่ปี 2004 และได้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงแสง เพื่อหาผลกระทบของการปลดปล่อยรังสีต่อชั้นบรรยากาศของโลก ต่อมาได้มีการวิเคราะห์ซ้ำในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมาพบว่าความสว่างต้องมากถึงในระดับหมื่นล้านเท่าของค่าเฉลี่ยที่วัดได้ ถึงจะส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก จึงไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลอะไรในตอนนี้
ดูคลิปการปลดปล่อยรังสีที่ตรวจจับได้ :
เรียบเรียงโดย Einstein@min
Sources :
[1] Black hole at the center of our galaxy appears to be getting hungrier. phys.org, 2019 : https://phys.org/…/2019-09-black-hole-center-galaxy-hungrie…
[2] Sagittarius A*. wikipedia, 2019 : https://en.wikipedia.org/wiki/Sagittarius_A*
ช่องทางติดตามข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แอพ Blockdit : https://www.blockdit.com/thaiscience
Instagram : https://www.instagram.com/thaisciencenews
Twitter : https://twitter.com/Thaiphys