Betelgeuse หมายถึง ruddiness หรือความแดงก่ำ ชื่อดังกล่าวเกิดจากการที่นักดาราศาสตร์ในยุคก่อนสังเกตเห็นบนท้องฟ้าว่าทำไมดาวฤกษ์ดวงนี้ถึงมีสีแดง
ประวัติโดยย่อ
ปี ค.ศ. 1836 นักดาราศาสตร์ท่านหนึ่งนามว่า Sir John Herschel ได้ตีพิมพ์ผลการสังเกตการแปรแสงของดาวบีเทลจุสระหว่างปี ค.ศ. 1836 – 1840 หรือกินระยะเวลาการสังเกตนาน 4 ปีผ่านวารสาร Outlines of Astronomy โดยพบว่าช่วงปีที่ดาวบีเทลจุดสว่างมากที่สุด คือ ในช่วงเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1837 และอีกครั้งในเดือนพฤศิจกายนปี 1839
Herschel สังเกตในอีก 12 ปีต่อมา พบว่าช่วงสว่างที่สุด คือ ในปี ค.ศ. 1852 ทำให้โลกรู้จักการแปรแสงของดาวฤกษ์ (Variable Star) จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1911 จึงมีการจัดตั้ง American Association of Variation Star Observers (AAVSO) สำหรับการบันทึกข้อมูลการแปรแสงของดาวฤกษ์โดยเฉพาะ
ความพยายามในการวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของดาวบีเทลจุส
ในปี ค.ศ. 1920 Albert Michelson และ Fransic Pease นักดาราศาสตร์สองท่านใช้ อุปกรณ์ Interferometer ขนาด 6 เมตร วางไว้หน้ากล้องโทรทรรศน์ขนาดหน้ากล้อง 2.5 เมตร ณ หอดูดาว Mount Wilson จากความช่วยเหลือ John Anderson ทำให้ทั้งสามท่านสามารถวัดเส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมของดาวบีเทลจุสได้ 0.047 นิ้ว เมื่ออาศัยปรากฏการณ์ Parallax ทำให้ประมาณเส้นผ่านศูนย์กลางได้ประมาณ 384 ล้านกิโลเมตร (ใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ของเราเกือบ 1,000 เท่า) ถึงกระนั้นความคลาดเคลื่อนในการวัด และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความแม่นยำยังคงเป็นที่ถกเถียง เนื่องจากเป็นปกติที่ดาวบีเทลจุสมีการแปรแสงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ การวัดในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
พบความสว่างของดาวบีเทลจุสลดลงอย่างผิดปกติ
ดาวบีเทลจุสจัดเป็นดาวฤกษ์แปรแสงที่มีหลายวงรอบ (Multicycles) บางช่วงมีการแปรแสงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หรือบางช่วงมีการแปรแสงน้อยลงไม่ต่างกัน นักวิทยาศาสตร์ที่เริ่มสังเกตความผิดปกติของการแปรแสงของดาวบีเทลจุสว่าลดต่ำผิดปกติเป็นคนแรก ๆ ก็คือ Edward Guinan, Richard Wasationic จากมหาวิทยาลัย Villanova และนักดาราศาสตร์สมัครเล่นอีกหนึ่งท่าน คือ Thomas Calderwood ในช่วงปลายปี ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา
ทั้งสามท่านพบว่าสถิติที่ผ่านมาดาวบีเทลจุสจะมีวงรอบที่ความสว่างจะมีค่าต่ำสุดทุก ๆ 5.9 ปี แต่ครั้งนี้ต่างออกไป เนื่องจากความสว่างยังคงลดลงเรื่อย ๆ กินระยะเวลาเกินกว่าที่สถิติบ่งชี้ไปมากถึง 425 วัน
หนึ่งในข้อสันนิษฐานว่าทำไมดาวบีเทลจุสถึงมีความสว่างน้อยลงกว่าปกติ ก็คือการปะทุของกลุ่มแก๊สหรือฝุ่น อาจไปบดบังจนทำให้ความสว่างโดยรวมของดาวบีเทลจุสลดลง
ผลจากการที่ดาวบีเทลจุสลดความสว่างลงทำให้เมื่อสิ้นปี 2019 ค่าอันดับความสว่างของดาวบีเทลจุสเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 จาก 0.5 (เลขมากสว่างน้อย เลขน้อยสว่างมาก) เดิมดาวบีเทลจุสเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับที่ 10 ในยามค่ำคืน ย้ายไปอยู่อันดับที่ 23 แทน และสว่างกว่าดาวฤกษ์ใกล้เคียงอย่าง Aldebaran ไม่เท่าไหร่
ตามรายงานของ Astronomer’s Telegram ได้ให้ข้อมูลไว้ว่าดาวบีเทลจุสมีความน้อยลงในรอบมากกว่า 100 ปีเลยทีเดียว ในขณะที่นิตยสารชื่อดังทางดาราศาสตร์อย่าง Astronomy กล่าวว่า “เป็นการลดแสงที่แปลกประหลาด”
มีหลายทฤษฎีอ้างว่าอีกไม่นานดาวบีเทลจุสจะถึงจุดจบโดยการระเบิดอย่างรุนแรง “Supernova” ในขณะที่นักดาราศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าการเกิด Supernova ของดาวบีเทลจุสไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในช่วง 100,000 ปีเป็นอย่างต่ำ
Bottom Line :
ดาวบีเทลจุสเป็นดาวยักษ์แดงขนาดใหญ่ อยู่ห่างจากโลกออกไปประมาณ 642.5 ปีแสง มีอายุมากกว่า 10 ล้านปี ปกติจะมีค่าอันดับความสว่าง 0.42 ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวนายพราน
เรียบเรียงโดย Einstein@min
Sources:
[1] Updates on the “Fainting” of Betelgeuse. astronomerstelegram, 2019 : http://www.astronomerstelegram.org/?read=13365
[2] When Will Betelgeuse Explode?. slate, 2019 : https://slate.com/technology/2014/09/betelgeuse-astronomers-give-it-100000-years-before-it-explodes.html
[3] Betelgeuse Imagined. apod.nasa.gov, 2019 : https://apod.nasa.gov/apod/ap200101.html
[4] Bright star Betelgeuse might be harboring a deep, dark secret. space, 2019 : https://www.space.com/betelgeuse-may-have-been-two-stars.html
[5] Betelgeuse: What’s up?. earthsky, 2019 : https://earthsky.org/space/betelgeuse-dimming-late-2019-early-2020-supernova
[6] Betelguese’s bizarre dimming has astronomers scratching their heads. astronomy.com, 2019 : http://www.astronomy.com/news/2019/12/betelgueses-bizarre-dimming-has-astronomers-scratching-their-heads
ติดตามผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
แอพ Blockdit : https://www.blockdit.com/thaiscience
Instagram : https://www.instagram.com/thaisciencenews
Twitter : https://twitter.com/Thaiphys