นักวิจัยตรวจพบหลุมดำขนาดกลาง (Intermediate Mass Blackhole) และได้ภาพถ่ายที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมี
หลุมดำขนาดกลางจะมีมวลประมาณ 1,000 – 100,000 เท่าของมวลอาทิตย์ ในขณะที่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรามีหลุมดำมวลยิ่งยวด (Supermassive Blackhole) อยู่ มีมวลมากถึง 4 ล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์เลยทีเดียว
ล่าสุดเมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นักวิจัยจากองค์กรอวกาศยุโรป (ESA) และ NASA ร่วมกันสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ปลดปล่อยของรังสีเอกซ์ (X – ray) โดยใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศถึง 4 ตัว ได้แก่ Hubble, Chandra, Swift และ Chandra โดยปรากฎการณ์ดังกล่าวถูกเรียกว่า “3XMM J215022.4 – 055108” (ชื่อยาวมาก) ซึ่งตรวจพบได้ตั้งแต่ปี 2003 เรื่อยมา
การตรวจพบช่วยประมาณขนาดหลุมดำขนาดกลาง
ทุกๆครั้งที่หลุมดำเคลื่อนที่ผ่านดาวฤกษ์ หรือดาวฤกษ์เคลื่อนที่ผ่านมัน จะถูกแรงโน้มถ่วงมหาศาลของหลุมดำฉีกมวลสารของดาวฤกษ์ ขณะที่เกิดการดูดกลืนจะมีการปลดปล่อยรังสีเอกซ์พลังงานสูงมากจนสามารถตรวจจับได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ แต่ปรากฏการณ์ครั้งนี้ต่างจากครั้งก่อนๆ ตรงที่การปลดปล่อยรังสีเอกซ์มีความรุนแรงมาก และเราสามารถประมาณขนาดของหลุมดำขนาดกลางได้
ทั้งนี้เหตุการณ์ 3XMM J215022.4 – 055108 เกิดใกล้กับใจกลางของกระจุกดาวแห่งหนึ่ง (ตามข่าวไม่ได้พูดถึงชื่อของกระจุกดาว) ผู้อ่านสามารถอ่านงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่ A luminous X-ray outburst from an intermediate-mass black hole in an off-centre star cluster Credit arXiv.org