ในปี 2018 สภาวิจัยทางวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ทางกายภาพ หรือ Engineering and Physical Sciences Research Council : EPSRC ได้รับรางวัลจากการประกวดภาพถ่ายทางวิทยาศาสตร์ จากการถ่ายภาพอะตอมเดี่ยวของสตรอนเทียมขณะเรืองแสง
จุดเล็ก ๆ ที่เห็น คือ อะตอมเดี่ยวสตรอนเทียมที่อยู่ในสภาวะมีประจุ เพื่อที่ทีมนักวิทยาศาสตร์จะได้จับตรึงให้มันเกือบอยู่กับที่ด้วยสนามไฟฟ้า (motionless) โดยส่งผ่านจากหัว Electrode ที่อยู่รอบ ๆ อะตอม
ระยะห่างระหว่างหัว Electrode เล็กประมาณ 2 มิลลิเมตรเท่านั้น จากนั้นยิงแสงเลเซอร์สีม่วงน้ำเงินเข้าไปที่อะตอม อะตอมเดี่ยวของสตรอนเทียมจะดูดซับ (Absorbs) พลังงานแสง และปลดปล่อย (Re-emits) ออกมาบางส่วน หรือดูเหมือนเรืองแสงได้ (Glowing) และสว่างมากพอที่กล้องดิจิตอลธรรมดาสามารถจับภาพได้
ความสว่างที่เกิดขึ้นทำให้อะตอมดูใหญ่กว่าขนาดจริงประมาณ 100 เท่า เหมือนกับเรามองดาวในท้องฟ้า ซึ่งจริงแล้วเราเห็นขนาดอันเนื่องมาจากความสว่างของมัน ไม่ใช่ขนาดจริง
ภาพถ่ายที่ลูกเพจเห็น ถูกถ่ายผ่านหน้าต่างทำจากกระจกใส แข็งแรง ภายในเป็นสูญญากาศพิเศษ เพื่อเป็นบ้านให้กับอะตอมเดี่ยวสตรอนเทียมนี้โดยเฉพาะ ภาพถ่ายดังกล่าวเป็นผลงานของนักศึกษาปริญญาเอก David Nadlinger จากมหาวิทยาลัย Oxford
โดย David กล่าวว่า
นี่เป็นอีกไอเดียหนึ่งที่สามารถเห็นอะตอมเดี่ยวด้วยตาเปล่าได้ แม้ไม่ใช่ขนาดจริงก็ตาม
Sources:
[1] : How a Student Photographed a Single Atom With a Store-Bought Camera., livescience, 2019
[2] : A single glowing atom., cosmosmagazine.com, 2019
[3] : Single trapped atom captures Science Photography Competition’s top prize., epsrc.ukri.org, 2019