ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Athens และนักโบราณคดี ได้ชุบชีวิตใบหน้าของสาววัยรุ่นในยุคหินกลับคืนมาอีกครั้ง จากหัวกระโหลกที่พบในถ้ำประเทศกรีซ โดยผลงานได้จัดแสดงที่พิพิทธภัณฑ์ Acropolis
Avgi หญิงสาววัยรุ่น ผู้อยู่ในยุคเปลี่ยนผ่าน
มีอะไรบ้างที่เราควรรู้เกี่ยวกับ Avgi
- หัวกระโหลกของ Avgi ถูกพบในปี 1993 จากถ้ำชื่อว่า Theopetra มีอายุประมาณ 9,000 พันปี โดยเป็นช่วงเปลี่ยนยุคของมนุษย์จากการดำรงชีวิตแบบนักล่า (Hunter-Gatherers) ไปสู่การทำไร่ทำสวนหรือเลี้ยงสัตว์ (Farmers)
- ด้วยเหตุผลดังกล่าวนักวิจัยจึงตั้งชื่อให้กับเธอว่า “Avgi” (ภาษากรีก) หากแปลเป็นภาษาอังกฤษจะตรงกับคำว่า “Dawn” ที่แปลว่า “รุ่งอรุณ” (เหมือนการเปลี่ยนผ่านยุคจากนักล่าเป็นการทำการเกษตรหรือเลี้ยงสัตว์)
- Avgi เป็นเด็กสาวที่มีอายุประมาณ 15 – 18 ปี (สันนิษฐานจากฟันและตัวอย่างกระดูก)
- สาเหตุที่เสียชีวิตยังระบุไม่ได้อย่างแน่ชัด แต่เชื่อว่าเธอต้องทุกข์ทรมานจากโรคที่เกี่ยวข้องกับโลหิตจาง โรคลักปิดลักเปิด (เลือดออกตามไรฟัน) และโรคเกี่ยวกับข้อกระดูก (ประเมินจากซากกระดูกเช่นกัน)
ความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญหลากสาขา
ทีมที่สังเคราะห์ใบหน้าของเธอขึ้นมาใหม่นั้นได้แก่
- นักประสาทวิทยา
- ผู้เชี่ยวชาญต่อมไร้ท่อ
- ศัลยแพทย์
- ทันตแพทย์
- นักรังสีวิทยา
- และนักพยาธิวิทยา
โดยทั้งหมดมาจากมหาวิทยาลัย Athens รวมทั้งนักโบราณคดี/นักประติมากรจาก Oscar Nilsson – สถาบันที่เชี่ยวชาญการสร้างประติมากรรมฟื้นฟูหรือใช้ข้อมูลวิทยาศาสตร์ในการสร้างโมเดลใบหน้าจากหัวกระโหลกมนุษย์ของมนุษย์ในอดีตให้เป็นโมเดลสามมิติ 3D
สร้างโมเดลใบหน้าสามมิติได้อย่างไร
ในการสร้างโมเดลใบหน้าให้กับมามีชีวิตหรือใกล้เคียงกับอดีตนั้น จะเริ่มจากการสแกนหัวกระโหลก และพิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์สามมิติ (3-D Printer) และติดหมุดไว้กับหัวกระโหลกในบริเวณต่างๆที่ควรจะมีเนื้อยึดติดกับใบหน้า จากนั้นจะใช้วัสดุเพิ่มกล้ามเนื้อเสมือน ตามด้วยผิวหนังรวมทั้งสี และดวงตา สำหรับหัวกระโหลกของ Avgi มีกรามที่ใหญ่มากเป็นพิเศษแสดงให้เห็นว่ามนุษย์สมัยนั้นนิยมบริโภคเนื้อเป็นหลัก
นักวิจัยให้เหตุผลในการคืนสภาพใบหน้าของ Avgi ว่า อยากให้คนปัจจุบันเห็นกว่าการใช้ชีวิต หรือใบหน้าของคนในอดีตก็ไม่ต่างจากเรามากนัก