Credit: NASA
นักดาราศาสตร์ค้นพบเมฆของฝุ่นอนุภาคพลังงานสูงขนาดใหญ่ หรือถูกเรียกว่า “Wind Nebula” ปกคลุมอยู่รอบๆดาวนิวตรอนที่มีสนามแม่เหล็กกำลังสูง (Rare Ultra Magnetic Neutron Star) หรือมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “Magnetar” (อ่านว่า แมกนีทาร์) ความพิเศษในการค้นพบครั้งนี้ คือ ปกติแล้วดาวนิวตรอนจะไม่มี Wind Nebula ปกคลุมอยู่รอบๆ จึงทำให้นักดาราศาสตร์มีความสนใจว่าสมบัติของดาวนิวตรอน สภาพแวดล้อม ประวัติศาสตร์การระเบิดของแมนีทาร์ นั้นมีความเป็นมาอย่างไร เพราะแมกนีทาร์เป็นแหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็กแรงสูงที่พบได้ในเอกภพ
ดาวนิวตรอนนั้นเกิดจากดาวฤกษ์ที่ตายแล้ว และมีการยุบตัวลงด้วยน้ำหนักของตัวเอง เนื่องจากไม่มีแรงดันความร้อนต้านแรงโน้มถ่วง ทำให้แรงโน้มถ่วงมีบทบาทมากขึ้น จนกระทั่งระเบิดออกมาเรียกว่า ซุปเปอร์โนวา (Supernova) และลดขนาดลงเหลือเพียงหนึ่งในครึ่งล้านเท่าของโลกเรา ประมาณ 12 ไมล์ (20 กิโลเมตร)
ดาวนิวตรอนมีอีกชื่อเรียกว่า “พัลซาร์” เกิดจากคำสองคำรวมกันคือ Pulsating ที่แปลว่า “ช่วง, สั่น” และ Star ที่แปลว่า “ดาว” ซึ่งคำว่า “ช่วง” ที่ว่าหมายถึงเส้นการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น คลื่นวิทยุ แสงที่ตามองเห็น รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา ออกมาอย่างต่อเนื่อง เป็นทางยาวทั้งสองขั้วของขั้วเหนือและใต้ของดาว เสมือนแสงจากประภาคารที่อยู่ใกล้ชายฝั่งที่จะส่องสว่างเป็นช่วงๆ และเมื่อดาวนิวตรอนหมุนรอบตัวเอง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เป็นทางยาวนี้ จะแผ่รังสีออกมาเป็นช่วงๆเช่นกัน
โดยทั่วไปสนามแม่เหล็กของดาวนิวตรอนมีขนาดมากกว่าโลกตั้งแต่ 100 พันล้าน – 10 ล้านล้านเท่า และนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่ามันมีกระบวนสร้างสนามแม่เหล็กกำลังสูงขนาดนี้ได้อย่างไร
Read Original Article and More Detail & Media
“Astronomers Find the First ‘Wind Nebula’ Around a Magnetar.”. [Online]. via : NASA 2016.