เป็นที่ทราบกันดีว่าเคราะห์น้อยในระบบสุริยะของเรานั้นมีจำนวนมากมายแค่ไหน บริเวณที่มีดาวเคราะห์น้อยมากมายนั้นอยู่ระหว่าง ดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี นักวิทยาศาสตร์มีความกังวลว่า หากดาวเคราะห์ดาวเคราะห์น้อยพุ่งเข้าชนโลก อาจส่งผลให้อารยธรรมของมนุษย์ย้อนกลับไปอีกหลายร้อยปี
ใครเป็นผู้ก่อตั้งวันดาวเคราะห์น้อย
วันดาวเคราะห์ได้รับการสนับสนุนจากนักวิทยาศาสตร์หลายแขนง เช่น
- Martin Rees นักดาราศาสตร์
- Brain May เป็นถึงนักกีตาร์และนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์
- Richard Dawkins นักชีววิทยา
- Rusty Schweickart อดีตนักบินอวกาศอะพอลโล 9
- Sir Harold Kroto นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล
- Helen Sharman นักบินอวกาศชาวอังกฤษ
- และ Alexey Leonov นักจักรวาลวิทยา
คนเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เราจะมีวิธีการใดในการค้นหาดาวเคราะห์น้อยที่มีความเสี่ยงว่าจะพุ่งชนโลก โดยได้ระดมทุนเพื่อสร้างดาวเทียมติดตามดาวเคราะห์น้อย จึงเป็นที่มาของวันดาวเคราะห์น้อย คือ 30 มิถุนายนของทุกปี
ทำไมถึงเลือกวันที่ 30 มิถุนายนเป็นวันดาวเคราะห์น้อย
เนื่องจากเป็นวันครบรอบ เหตุการณ์ Tunguska กล่าวคือ ในอดีตเคยมีดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กพุ่งตกทางเหนือของไซบีเรียสร้างการระเบิดเท่ากับระเบิดปรมาณู 1,000 ลูก เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่สร้างผลกระทบที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลกเราเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 1908 นั่นเอง โดยมีขนาดประมาณ 60 ถึง 190 เมตร
ผลกระทบจากการพุ่งชนของดาวเคราะห์
ทุกๆ 10 ล้านปีหรือมากกว่านั้น จะมีเทหวัตถุนอกโลกที่มีขนาดไม่กี่กิโลเมตรพุ่งชนโลก ซึ่งก่อให้เกิดภัยพิบัติไปทั่วโลกมีโอกาสเพียง 1 ในล้านที่เราจะมีชีวิตรอดได้ แต่ถ้าหากดาวเคราะห์น้อยมีขนาดเพียง 300 เมตร อาจส่งผลกระทบแค่บริเวณที่มันตก แต่ถ้าหากตกลงไปในมหาสมุทรแอตแลนติก จะเกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ที่สามารถทำลายล้างทวีปยุโรปและชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐ ในความเป็นจริงดาวเคราะห์น้อยที่เราพอประมาณจำนวนได้อยู่ นั้นมีจำนวนมากถึงมากเลยทีเดียว นั่นหมายความว่าเราก็ยิ่งมีความเสี่ยงตามมามากเช่นกัน
นักวิทยาศาสตร์มีแผนป้องกันอย่างไร
มูลนิธิ B612 ได้ก่อตั้งโดยอดีตนักบินอวกาศ Ed Lu และ Schweickart เพื่อระดมทุนส่งเสริมการป้องกันจากดาวเคราะห์ โดยก่อตั้งในปี 2002 เป้าหมายคือระดมทุนให้ได้ 250 ล้านเหรียญสหรัฐ แผนคือการสร้างกล้อง Sentinel ซึ่งทำหน้าที่สำรวจหาดาวเคราะห์น้อยนั่นเอง นักวิทยาศาสตร์วางแผนไว้ว่าเมื่อได้ทุนตามต้องการจะส่งกล้อง Sentinel ไปกับจรวด Falcon 9X
กล้อง Sentinel ทำงานอย่างไร
ปกติหากใช้กล้องที่ตรวจจับความยาวคลื่นที่ตามองเห็นได้ เราแทบจะหาดาวเคราะห์น้อยไม่พบเลย หรือเป็นไปได้ยากมากเนื่องจากดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่มีสีคล้ายถ่านหิน แต่กล้อง Sentinel สามารถตรวจหาดาวเคราะห์ได้โดยใช้กล้องอินฟาเรด ซึ่งมีคุณสมบัติในการตรวจหาคลื่นความร้อนจากวัตถุ
ด้วยวิธีนี้จะทำให้โลกของเรามีเทคโนโลยีที่จะปกป้องตัวเองให้พ้นจากหายนะของดาวเคราะห์น้อยที่จะพุ่งชนโลกได้ ในอนาคต หากประเมินได้ว่าดาวเคราะห์น้อยดวงใดกำลังจะเข้ามาชนโลก เราก็ยังพอมีเวลาที่จะเตรียมตัวรับมือกับพวกมันได้
ชมคลิปสารคดีเหตุการณ์ Tunguska (Credit Besend Channel)
Reference datailed & pics
“Asteriod Day tries to save life as we know it.”. [Online]. Available : The guardian 2015.