จีนมีแผนที่จะส่งดวงจันทร์เสมือน (Artificial Moon) ในปี 2020 แทนการใช้แสงสว่างจากเสาไฟตามท้องถนน ช่วยประหยัดรายจ่ายค่าไฟฟ้า
ไกลออกไปทางตอนใต้ของจังหวัด Sichuan เมือง Chengdu ได้มีการประดิษฐ์และพัฒนาดาวเทียมที่ให้แสงสว่างในภาคพื้นได้ (Illumination Satellites) โดยจะสามารถให้ความสว่างคล้ายกับดวงจันทร์ของจริง (Real Moon) แถมยังสว่างกว่าถึง 8 เท่า ตามรายงานข่าวของ China Daily
ดวงจันทร์เสมือนนี้จะถูกส่งไปกับดาวเทียม Xichang ในปี 2020 (เวอร์ชั่นทดลอง) และถ้าใช้งานได้จริง จะมีการส่งไปอีก 3 ดวงในปี 2022 – Wu Chunfeng หัวหน้าโครงการจาก Tian Fu New Area Science Society กล่าว นอกจากนี้ได้ความร่วมมือจากสถาบันเทคโนโลยี Harbin รวมถึงบริษัท China Aerospace Science ในการพัฒนาดาวเทียมชนิดนี้อีกด้วย
อาศัยการสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์
ดาวเทียมให้แสงเหมือนดวงจันทร์นี้จะอาศัยหลักการเดียวกับดวงจันทร์ที่จะสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์มายังโลก ทดแทนการใช้แสงสว่างจากเสาไฟตามท้องถนนในพื้นที่ชานเมืองต่าง ๆ ทางการจีนคาดว่าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าต่อปีได้ถึง 170 ล้านเหรียญสำหรับเมือง Chengdu
มีความกังวลว่าความสว่างจะไปรบกวนประเทศอื่น ๆ หรือไม่ แต่จีนได้อธิบายไว้ว่า
ความสว่างของดวงจันทร์เสมือนจะคลุมบริเวณเฉพาะแค่ 50 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น
นอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าได้แล้ว จีนหวังจะช่วยให้ดวงจันทร์เสมือนให้ความสว่างภาคพื้นดินที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกด้วย
จีนไม่ใช่ประเทศแรกที่จะนำแสงจากดวงอาทิตย์มายังโลก
ในปี 1990 นักวิทยาศาสตร์รัสเซียก็ได้ติดตั้งกระจกสะท้อนขนาดใหญ่กว้างถึง 25 เมตรจากอวกาศกินบริเวณสว่างภาคพื้นดินประมาณ 7 ตารางกิโลเมตร ในโปรเจคที่ชื่อว่า Znamya หรือในอีกชื่อ Banner